Informações:
Sinopse
Episódios
-
RUOK49 ทำไมบางคนตัวตนในอินเทอร์เน็ตไม่เหมือนที่เรารู้จัก แล้วแบบไหนคือตัวตนจริงๆ
29/11/2018 Duração: 15minหลายครั้งที่พบว่าคนที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย กับในโซเชียลมีเดียเหมือนเป็นคนละคนกัน บางคนเรียบร้อยแต่ในเฟซบุ๊กกลับเกรี้ยวกราด บางคนชอบโชว์หวิวในโลกเสมือน หรือบางคนมีแอคเคาต์ลับไว้คุยเรื่องเพศโดยเฉพาะ จนชวนสงสัยว่าจริงๆ แล้วคนตรงหน้าเป็นอย่างไรกันแน่ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจตัวตนในโซเชียลมีเดีย ที่บางครั้งแสดงออกเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง พฤติกรรมนี้มาจากไหน และมีอะไรบ้างที่ควรระวังก่อนจะไปถึงขั้นเสพติด Time index01:25 หลายคนตัวจริงกับตัวตนในอินเทอร์เน็ตไม่เหมือนกัน02:39 บางมุมของเราไม่อนุญาตให้แสดงในชีวิตประจำวัน06:00 แม้จะเป็นเรื่อง Healthy แต่อาจมีผลกระทบกับการงาน08:55 การโชว์เรื่องเพศอาจมีอาการเสพติดเซ็กซ์ได้10:15 สาเหตุของรสนิยม Exhibition
-
RUOK48 คิดต่างกับขวางโลกเหมือนกันไหม แล้วแสดงความคิดเห็นอย่างไรให้ไม่ปะทะกัน
26/11/2018 Duração: 16minโลกทุกวันนี้เป็นโลกของการแสดงความคิดเห็น แต่มนุษย์แต่ละคนนั้นมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ความเห็นต่อสิ่งต่างๆ ย่อมไม่มีทางเหมือนกัน บางคนคล้อยตาม บางคนคิดนอกกรอบ บางคนคิดต่าง บางคนขวางโลก R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนกันแสดงความเห็นว่าคิดต่างกับขวางโลกนั้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ในทางจิตวิทยาบุคลิกภาพแบบขวางโลกเป็นแบบไหน และจะแสดงความคิดเห็นอย่างไรไม่ให้ขัดแย้งเพราะต่างมีโอกาสที่จะคิดอะไรไม่เหมือนกัน Time index02:22 การแสดงความคิดเห็นในสังคมไทย03:20 เราไม่ได้สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็นตั้งแต่เด็ก06:20 คิดต่าง VS ขวางโลก ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร08:53 6 วิธีการแสดงความคิดต่างอย่างลดการปะทะ12:00 แลกเปลี่ยน รับฟัง และแสดงความคิดเห็นอย่างไรในที่ทำงาน
-
RUOK47 มโนบ่อยๆ ถือว่าผิดปกติไหม แล้วมโนหนักแค่ไหนต้องได้รับความช่วยเหลือ
22/11/2018 Duração: 18minจิ้นว่าได้เป็นแฟนกับคนที่ชอบ ฝันกลางวันว่าถูกหวยจะเอาเงินไปทำอะไร คนเรามีสิทธิคิดฝันหรือที่ทุกวันนี้เรียกกันว่า ‘มโน’ ได้ทั้งนั้น แต่ดีกรีของการมโนนั้นก็เป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะบางคนแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องมโนได้ แต่บางคนกลับเชื่อว่าเป็นสิ่งเดียวกัน R U OK เอพิโสดนี้จะพาไปสำรวจความมโนว่าแบบไหนที่เฮลตี้ และถ้าเรื่องมโนกับเรื่องจริงแยกแยะไม่ได้ขึ้นทุกทีควรทำอย่างไร Time index02:53 จินตนาการกับมโนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร03:05 เราจินตนาการกันมาตั้งแต่เด็กด้วยการเล่น03:29 จินตนาการทำให้แรงปรารถนาลึกๆ ของมนุษย์ได้บริหาร08:20 ถ้าเสียเวลาไปกับการมโนเกินไป ควรทำอย่างไร09:22 บางคนแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องมโนได้ แต่ยับยั้งความรู้สึกไม่ได้11:35 แยกเรื่องจริงกับเรื่องมโนไม่ได้ อาจมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติ
-
RUOK20 ทำไมถึงเหงาทั้งที่มีคนรอบกาย และจะจัดการอย่างไรกับความว่างเปล่าที่เกิดขึ้น [Re-broadcast]
20/11/2018 Duração: 14minความรู้สึกหนึ่งที่มนุษย์เราต้องเผชิญคือความเหงา เด็กบางคนเหงาที่ไม่มีเพื่อนเล่น ผู้ใหญ่บางคนเหงาเพราะว่างเปล่าไม่มีใครมาเติมเต็ม และถ้าเคยสังเกต ความเหงาไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณคนข้างกาย เพราะบางครั้งอยู่ท่ามกลางคนมากมายก็ยังเหงา R U OK เอพิโสดนี้จะพาไปทำความรู้จักอารมณ์ที่เราคุ้นเคยอย่าง ‘ความเหงา’ พร้อมชวนสำรวจตัวเองว่าถ้าความเหงานำพาให้เราทำสิ่งที่ไม่คาดคิด เราจะยั้งตัวเองไม่ให้เกิดพฤติกรรมนั้นอย่างไร Time index02:24 ความเหงาไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณคนที่อยู่ด้วย03:19 ความเหงามาจากไหน04:25 จริงๆ แล้วความเหงาอยู่กับเราตลอดเวลา07:51 ความเหงาและความแปลกแยกทั้งต่างและสัมพันธ์กัน11:39 การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลตัวเองอ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok20/
-
RUOK46 เก็บของไว้จนล้นบ้านจะเป็นโรคชอบสะสมของไหม เหมือนหรือต่างอย่างไรกับนักสะสม
15/11/2018 Duração: 18minพฤติกรรมเก็บของจนบ้านรก แถมของที่ใช้ไม่ได้ก็ไม่ยอมทิ้งจนหลายคนอาจสงสัยว่าตัวเองมีอาการชอบสะสมของ หรือ Hoarding Disorder ไหม R U OK เอพิโสดนี้เลยพาไปทำความเข้าใจว่าเก็บแค่ไหนถึงจะป่วยเป็นโรค เหมือนหรือต่างกับนักสะสมอย่างไร และเขาเหล่านั้นรู้สึกอย่างไรทำไมถึงไม่ยอมทิ้ง Time index02:03 โรคชอบสะสมของมีอาการอย่างไร06:32 สาเหตุของอาการชอบสะสมของอาจเกี่ยวกับสมอง พันธุกรรม และประสบการณ์ในชีวิต07:34 โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ หรือโรคจิตเภทก็อาจนำพาอาการชอบสะสมของได้08:26 ภาวะซึมเศร้ากับความขี้เกียจบางครั้งก็แยกกันยาก13:49 นักสะสมกับอาการชอบสะสมของเหมือนหรือต่างกันอย่างไร15:05 ถ้าคนในครอบครัวมีอาการชอบสะสมของควรเริ่มต้นอย่างไร
-
RUOK45 แพนิก (PANIC) คืออาการกลัวรุนแรงแค่ไหน เหมือนหรือต่างอย่างไรกับความกลัวธรรมดา
12/11/2018 Duração: 19minเราพูดถึงอาการกลัวว่าแพนิก (PANIC) กันจนชิน แต่รู้ไหมว่ามันแตกต่างกับความกลัว (FEAR) และโรคกลัว (PHOBIA) อย่างไร R U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น โฮสต์ประจำรายการจะมาเล่าประสบการณ์ตรงว่า PANIC คืออาการตกใจกลัวรุนแรงแค่ไหน เกิดขึ้นจากอะไร เกิดซ้ำได้ทุกเวลาจริงหรือไม่ และเราจะหาตัวช่วยอย่างไรให้อาการดีขึ้น Time index01:44 PANIC, FEAR และ PHOBIA ต่างกันอย่างไร03:15 อาการของ PANIC ATTACK11:04 สาเหตุของอาการ PANIC13:45 หาซัพพอร์ตตัวเองเมื่อเกิดอาการ PANIC
-
RUOK44 “รักตัวเองก่อนจะไปรักใคร” คือเรื่องจริงไหม และเติมเต็มตัวเองอย่างไรให้ใจมีความสุข
08/11/2018 Duração: 19min“ต้องรักตัวเองก่อนจะไปรักใคร” ประโยคแสนคลิเช่ที่ได้ยินกันมานับครั้งไม่ถ้วน บางคนเข้าใจ แต่ก็มีหลายคนนึกไม่ออกแถมไม่เชื่อ แต่สำหรับ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดจากพอดแคสต์ R U OK เชื่อว่าเราควรเริ่มต้นจากการรักตัวเองจริงๆ R U OK พอดแคสต์เลยชวนทำความเข้าใจประโยคแสนธรรมดาว่ารักตัวเองคืออะไร สามารถทำได้ด้วยวิธีไหน เพื่อสุดท้ายเราจะสามารถเติมเต็มให้ตัวเองโดยไม่ต้องโหยหาและไม่ต้องไขว่คว้าจากใคร Time index01:30 มนุษย์ทุกคนอยากเป็นที่รัก03:03 ความรักคือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน05:27 เราเคยรักใครสักคนไหม เราทำอย่างนั้นกับตัวเองได้06:52 บางคนกว่าจะเข้าใจว่ารักตัวเองเป็นอย่างไรอาจผ่านมาครึ่งชีวิต10:54 ปมโหยหาความรักมีที่มาเสมอ
-
RUOK43 อาการหวงเพื่อนเกิดจากอะไร และถ้าเกิดความรู้สึกน้อยใจจะรับมืออย่างไรดี
05/11/2018 Duração: 15minอาการหวงเกิดได้ทั้งกับสิ่งของ คน และความสัมพันธ์ แต่กับบางคนหวงเพื่อน ไม่อยากให้เพื่อนไปสนิทกับใคร หรือบางครั้งก็รู้สึกน้อยใจที่เพื่อนเห็นความสำคัญเราลดลงR U OK เอพิโสดนี้จึงชวนมาหาสาเหตุว่าความหวงที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องชู้สาวทำไมถึงเกิดกับเพื่อน เบื้องหลังความรู้สึกหวงที่ว่านี้คืออะไร และจะชวนสะกิดอาการน้อยใจ ว่าควรรับมือกับความรู้สึกนี้อย่างไรให้ไม่กระทบความสัมพันธ์Time index03:26 อาการหวงเพื่อน06:24 ความน้อยใจที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่ความจริง แต่เป็นความคิดของเรา06:51 ความรู้สึกน้อยใจ ไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง มากจากไหน10:35 จัดการกับความรู้สึกน้อยใจที่เกิดขึ้นอย่างไรดี
-
RUOK42 เห็นแก่ตัว VS รักตัวเอง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และจะทำอย่างไรถ้าอยู่กับคนที่ยึดความต้องการตัวเองเป็นหลัก
01/11/2018 Duração: 16minความรักตัวเองเป็นสิ่งที่พื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมี แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเราต้องเข้าสังคมและมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ความรักและความต้องการของเรา อาจต้องยืดหยุ่นหรือลดลง เพื่อให้เราใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข R U OK เอพิโสดนี้จึงมาชวนคุยเรื่องความรักตัวเอง ที่บางครั้งดูทับซ้อนกับความเห็นแก่ตัว ว่าจริงๆ แล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และในขณะที่เราต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะที่ทำงาน ที่มีคนที่ชัดเจนในความต้องการของตัวเองมากๆ จะทำอย่างไรให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างไม่ขัดแย้ง Time index01:29 เห็นแก่ตัว VS รักตัวเอง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร06:33 บางครั้งคำว่าเห็นแก่ตัวก็เป็นการตัดสินคนอื่น09:47 ลองถามตัวเองก่อนบอกว่าใครเห็นแก่ตัว13:04 ถ้าต้องทำงานกับคนที่ความต้องการชัดเจนโดยไม่แคร์คนอื่น ควรทำอย่างไร
-
RUOK41 คิดถึงความตาย กับคิดอยากฆ่าตัวตายต่างกันอย่างไร คิดบ่อยแค่ไหนควรหาหมอ
30/10/2018 Duração: 13minความตายเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นกับทุกคน บางคนเลยคิดถึงความตายในแง่การเข้าใจชีวิต แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าถ้าคิดถึงบ่อยๆ จะเป็นอะไรไหม สามารถนำไปสู่ความคิดอยากฆ่าตัวตายได้หรือเปล่า R U OK เอพิโสดนี้จึงว่าด้วยเรื่องความตาย ว่าความคิดแบบไหนที่ลั่นขึ้นมาในหัวเมื่อไหร่ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญTime index01:58 คิดถึงความตายกับคิดอย่างฆ่าตัวตายต่างกันอย่างไร02:55 เราหลีกเลี่ยงการพูดถึงความตายเพราะกลัวเป็นเรื่องไม่มงคล04:34 อยากฆ่าตัวตายคือการตั้งคำถามกับคุณค่าของชีวิตตัวเอง09:00 ถ้าเพื่อนพูดถึงเรื่องความตายอย่าเพิ่งปัดตกแต่ให้ตั้งใจฟัง10:06 คิดถึงความตายแบบไหนที่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
-
RUOK40 แคร์ความรู้สึกคนอื่นมากเกินไปเกิดจากอะไร และจะทำอย่างไรจะลดความกังวลเรื่องคนรอบข้าง
26/10/2018 Duração: 15minการเห็นอกเห็นใจคนอื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับบางคนความรู้สึกนั้นก็ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เพราะกังวลว่าคนรอบข้างจะรู้สึกอย่างไรมากเกินไป แคร์ว่าเราทำอะไรให้เขารู้สึกไม่ดีไหม หรือบางคนก็รับมวลความทุกข์คนอื่นมาเป็นของตัวเอง R U OK เอพิโสดนี้ จะมาหาสาเหตุว่าการแคร์คนอื่นจนยอมพับความต้องการของตัวเองเก็บไว้เกิดจากอะไร และจะรู้จักปฏิเสธอย่างไรไม่ให้เสียความสัมพันธ์Time index01:09 หลากหลายพฤติกรรมการใส่ใจความรู้สึกคนรอบข้างมากเกินไป02:30 แคร์ความรู้สึกคนอื่น VS Empathy05:33 ทำไมบางคนไม่กล้าปฏิเสธคนอื่น08:10 จะรักคนอื่นได้ต้องรักตัวเองก่อน09:07 Empathy VS Sympathy
-
RUOK39 ทำเสียงสอง ชอบโทษคนอื่น ขี้โม้ พฤติกรรมที่เหมือนเด็กไม่โตเหล่านี้มาจากไหน แล้วทำไมถึงยังไม่เลิก
23/10/2018 Duração: 14minเชื่อว่าหลายคนเคยไปถามทางจากคนที่ไม่รู้จักด้วยเสียงเล็กราวกับเป็นเด็ก หรือบางครั้งเวลาทำผิดก็ทำเสียงสองราวกับไม่ใช่เสียงของตัวเอง R U OK เอพิโสดนี้จะมาคุยถึงพฤติกรรมการทำตัวเป็นเด็ก ที่แม้โตเป็นผู้ใหญ่บางคนแล้วก็ยังไม่ยอมเลิก ทั้งแอ๊บแบ๊ว คุยโวโอ้อวด ทำตัวรู้ทุกเรื่อง และชอบเป็นจุดสนใจ พฤติกรรมเหล่านี้มาจากไหน และทำไมเราถึงยังไม่เลิกทำTime index02:06 ใครๆ ก็มีพฤติกรรมเป็นเด็กได้ แล้วแต่สถานการณ์03:38 Childish Behaviours คืออะไร มีพฤติกรรมอะไรบ้าง08:26 สาเหตุของ Childish Behaviours10:18 การอนุญาตให้ตัวเองมีพฤติกรรมเป็นเด็กบ้างก็เป็นเรื่องดีและไม่ใช้สิ่งผิด12:50 เราจะทำความเข้าใจคนที่มีพฤติกรรมเหมือนเด็กตลอดเวลาได้อย่างไร
-
RUOK38 ทำไมเราจึงลังเล ไม่ยอมตัดสินใจ และจะทำอย่างให้รู้ความต้องการของตัวเองจริงๆ
18/10/2018 Duração: 17minความลังเล คือพฤติกรรมที่มนุษย์ทุกคนมีมากน้อยต่างกัน บางคนเป็นกับเรื่องยากๆ แต่บางคนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตั้งแต่การเลือกเสื้อผ้าจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต R U OK เอพิโสดนี้จะชวนให้ทุกคนทบทวนความลังเลของตัวเองว่ามีสาเหตุมาจากไหน และชวนสำรวจไปถึงความต้องการที่แท้ของตัวเอง เพราะเมื่อรู้แล้วอาจทำให้อาการลังเลลดลงได้Time index01:57 อาการของคนลังเล03:45 สาเหตุที่ทำให้คนมีอาการลังเล05:34 บางคนไม่สามารถเอาความต้องการตัวเองเป็นหลัก07:47 อาการลังเลลดลงได้ ถ้าเราเข้าใจสาระของการตัดสินใจตรงหน้า09:32 การรู้ความต้องการของตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ อ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok38/
-
RUOK37 เล็กๆ น้อยๆ แค่นี้ก็พบจิตแพทย์ได้ และควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อคนรอบข้างกำลังรักษาอาการทางใจ
15/10/2018 Duração: 18minสิ่งหนึ่งที่ย้ำอยู่เสมอในพอดแคสต์ R U OK คือ หากเราสงสัยในพฤติกรรมของตัวเองและอยากแก้ไขก็สามารถพบจิตแพทย์ได้ โดยไม่ถึงกับต้องอาการหนักหรือถึงขั้นป่วยเป็นโรค แต่หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ บางอย่างก็สามารถพบผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน R U OK เอพิโสดนี้จึงมารวมพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าควรพบจิตแพทย์ ต่อเนื่องไปจนถึงว่า หากคนรอบตัวไปพบจิตแพทย์มาแล้ว เราควรปฏิบัติอย่างไรให้เหมาะสม จะให้กำลังใจอย่างไรให้ถูกวิธี Time index01:50 สัญญาณเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ไปหาจิตแพทย์ได้08:02 ถ้าคนรอบตัวอยู่ระหว่างการพบจิตแพทย์ เราควรปฏิบัติอย่างไรอ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok37/
-
RUOK36 ชีวิตมีแบบแผน เป๊ะทุกอย่างจนคนรอบข้างอึดอัด จะเริ่มยืดหยุ่นอย่างไรดี
11/10/2018 Duração: 14minทุกคนคงเคยมีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งที่ ‘เป๊ะ’ ไปเสียทุกอย่าง ต้องมาตรงเวลา ต้องกินอาหารให้ตรงเวลา ทำงานต้องสมบูรณ์ มีแบบแผนชีวิตที่ชัดเจนว่าแต่ละวันต้องทำอะไร ความเป๊ะนั้นอยู่ในพื้นที่ของเขาไม่เดือดร้อนใคร แต่บางครั้งคนรอบข้างอย่างเราก็อาจเกร็งและอึดอัดได้ R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากชวนทำความเข้าใจนิสัย ‘เป๊ะ’ ของเพื่อนว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และในขณะเดียวกันหากตัวเองเป็นคนที่เป๊ะจนคนอื่นอึดอัดอย่างนี้ เราจะเริ่มต้นคลี่คลายตัวเองอย่างไรได้บ้าง Time index01:44 บางคนมีวินัยกับตัวเองมากๆ ก็มีผลกับคนรอบข้าง03:46 เป๊ะในความสัมพันธ์อาจมีผลกับชีวิตคู่05:21 ทั้งงานและความสัมพันธ์ควรมีความยืดหยุ่น06:30 บางคนไม่ยืดหยุ่นแม้แต่กับตัวเอง10:17 จะเริ่มยืดหยุ่นบ้างอย่างไรดีอ่านเนื้อหาของเอพิโสดนี้ ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok36/
-
RUOK35 โตเป็นผู้ใหญ่แต่ยังติดหมอนเน่า ตั้งชื่อให้ตุ๊กตา แบบนี้ถือว่ายังโอเคไหม
08/10/2018 Duração: 15minเชื่อว่าเด็กๆ หลายคนมักมีเพื่อนคู่ใจเป็นตุ๊กตาที่คอยถือพาไปไหนมาไหน บางคนมีผ้าห่มผืนเก่านิ่มที่ต้องห่มก่อนนอนทุกคืน ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กทั่วไป แต่บางคนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ทิ้งตุ๊กตาเหล่านี้ R U OK พอดแคสต์ พาไปทำความเข้าใจอาการติดหมอนเน่าว่าถือเป็นความปกติไหม การพูดคุยกับตุ๊กตาราวกับสิ่งมีชีวิตถือว่าโอเคหรือเปล่า จนถึงคนที่อยากเลิกพฤติกรรมการติด ควรเริ่มต้นอย่างไรTime index02:55 อาการติดหมอนเน่ามาจากอะไร05:58 ทำไมผู้ใหญ่บางคนยังติดหมอนเน่า ตุ๊กตา07:14 เราต้องหาวิธีที่ทำให้ตัวเองรู้สึกอุ่นใจด้วยตัวเอง10:16 ชอบตั้งชื่อ พูดคุยกับสิ่งของโอเคไหมอ่านเนื้อหาของพอดแคสต์เอพิโสดนี้ ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok35/
-
RUOK34 วิธีสร้างความมั่นใจและลดอาการประหม่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก
04/10/2018 Duração: 18minเคยสังเกตไหมว่า เมื่อเจอสถานการณ์กดดันคนเรามีการรับมือที่แตกต่างกัน บางคนหัวเราะใส่ บางคนร้องไห้ บางคนโวยวาย แต่บางคนตัวสั่นงันงก ล่ก ลน จนไม่เป็นตัวของตัวเอง R U OK เอพิโสดนี้จะชวนลงลึกไปถึงวิธีการเผชิญหน้ากับความกดดันของแต่ละคนว่าทำไมถึงแตกต่างกัน พร้อมทั้งเทคนิคฝึกฝนตัวเองอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นใจ เมื่อต้องพูดต่อหน้าคนจำนวนมากTime index02:00 ทำไมเราถึงมีวิธีการรับมือกับความกดดันแตกต่างกัน02:43 ทำไมบางคนถึงลนเมื่อเจอความกดดัน04:20 ประสบการณ์และการเลี้ยงดูมีผลต่อการรับความกดดัน05:39 วิธีการรับมือกับความประหม่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok34/
-
RUOK33 ทำไมบางคนไม่บอกความต้องการของตัวเอง พึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา และไม่กล้าตัดสินใจ
01/10/2018 Duração: 16minเมื่อลองสังเกตเพื่อนในกลุ่มจะพบว่าเพื่อนบางคนสามารถจัดการตัวเองได้ แต่สำหรับบางคนมักไม่มีความมั่นใจ ต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่การตัดสินใจเรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่ หรือบางครั้งก็ไม่เคยแสดงความรู้สึกของตัวเองว่าจริงๆ แล้วต้องการอะไรกันแน่ R U OK เอพิโสดนี้จะมาชวนทำความเข้าใจบุคลิกภาพแบบยึดถือพึ่งพาที่ไม่ใช่โรคหรือความป่วยไข้ แต่อาจนำพาปัญหาซ้ำๆ มาให้ และจะทำอย่างไรให้มีความมั่นใจในการตัดสินใจมากขึ้นTime index02:00 คนบางคนไม่ยอมตัดสินใจและพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา03:48 ที่มาของบุคลิกภาพแบบยึดถือพึ่งพา10:05 ลักษณะของบุคลิกภาพแบบยึดถือพึ่งพา13:23 ถ้าเพื่อนพึ่งพาคนอื่นมากๆ เราจะช่วยเพื่อนได้อย่างไรอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok33/
-
RUOK32 Bully สร้างแผลในใจได้ขนาดไหน และจะทำอย่างไรที่จะหยุดวงจรนี้
27/09/2018 Duração: 15minเพราะไม่ว่าใครในโลกใบนี้ต่างก็เคยตกเป็นเหยื่อ และเคย Bully คนอื่นอย่างไม่รู้ตัว เพื่อไม่ให้สร้างรอยแผลในใจ R U OK เอพิโสดนี้จะมาช่วยกันหาทางออกว่าจะทำอย่างไรเพื่อจะหยุดวงจรความรุนแรงนี้ และถ้าต้องตกเป็นเหยื่อการ Bully จะจัดการความรู้สึกติดลบในใจอย่างไรให้ดีขึ้นTime index01:33 คนที่ Bully คนอื่นมักไม่รู้ตัวเพราะเป็นช่วงที่ตัวเองมีความสุข02:05 รอยแผลในใจของเหยื่อที่ถูก Bully04:52 จะรับมืออย่างไรถ้าถูก Bully อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok32/
-
RUOK31 แบบไหนที่เรียกว่า Bully ภายใต้ความเป็นผู้ใหญ่และความสนิทที่มี เรา Bully กันได้ไหม
24/09/2018 Duração: 15minทุกวันนี้เราคุ้นเคยกับคำว่า Bully มากขึ้น แต่กลับรู้เพียงคร่าวๆ ว่าคือการกระทำความรุนแรง อาจมีเรื่องชกต่อย ด่าทอ การประจานทางโซเชียลมีเดีย แต่ความเป็นจริงแล้ว Bully กินความกว้างและสร้างผลกระทบทางความรู้สึกมากไปกว่านั้นR U OK เอพิโสดนี้จะมาลงรายละเอียดว่าการกระทำแบบไหนที่เรียกว่า Bully สถานการณ์ไหนที่อาจเข้าข่ายความรุนแรง เพราะไม่ว่าเราหรือใครต่างก็สามารถตกเป็นเหยื่อและเป็นผู้กระทำอย่างไม่รู้ตัวTime index01:49 การ Bully ไม่ใช่แค่ความรุนแรงทางกาย 04:03 มนุษย์เราฝึกการเล่นกับคนอื่นมาตั้งแต่เด็ก05:31 การ Bully บางครั้งก็มาในนามของความรัก ความเอ็นดู ความเป็นผู้ใหญ่07:48 เราเจอการ Bully มาตั้งแต่เด็กจนถึงตอนโต09:11 Cyber Bullying ก็สร้างบาดแผลในใจได้ไม่ต่างกัน13:40 เราต้องหยุดวงจร Bullyอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok31/