Informações:
Sinopse
21
Episódios
-
readWORLD EP.61 Storytelling : การจัดการความรู้ด้วย ‘เรื่องเล่าเร้าพลัง’
10/03/2022 Duração: 56minการเล่าเรื่องหรือเรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) เป็นเครื่องมือหนึ่งซึ่งใช้ในการจัดการความรู้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อค้นหาบทเรียนและปัจจัยความสำเร็จจากเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านการเล่าเรื่อง . Storytelling เป็นเทคนิคในการดึงความรู้ที่ฝังลึกในตัวตน (Tacit Knowledge) ซึ่งอธิบายและแปลงเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลขได้ยาก ให้กลายเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) สกัดเป็นความรู้ที่สามารถบันทึกและเก็บรวบรวมหรือถ่ายทอดได้ โดยทั่วไปมักเลือกเรื่องราวที่เป็นความสำเร็จหรือ Success Story เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สร้างบรรยากาศความคิดเชิงบวก และกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ . การจัดการความรู้ด้วยเรื่องเล่าเร้าพลัง มีรายละเอียดและขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่มีข้อควรระมัดระวังอยู่หลายประการ ปกติแล้วจะมีการนำเครื่องมือทางจิตตปัญญาศึกษามาใช้ ซึ่งประกอบด้วย (1) สุนทรียสนทนา คือการพูดคุยกันบนหลักการความเชื่อมั่นและเคารพความเป็นมนุษย์ ยอมรับความแตกต่าง มองความสัมพันธ์ต่างๆ อย่างเชื่อมโยงเป็นองค์รวม (2) การฟังอย่างลึกซึ้ง คือฟังอย่างตั้งใจและใคร่ครวญ ไม่โต้แย้งหรือตัดสินเรื่องที่ฟังในขณะที่มีการสื่อสาร
-
Library Management in Disruptive Times: Skill and Knowledge for an Uncertain Future
28/02/2022 Duração: 01h07minการบรรยายเรื่อง “Library Management in Disruptive Times: Skill and Knowledge for an Uncertain Future” ในการประชุม TK Forum 2018 สตีฟ โอคอนเนอร์ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ มหาวิทยาลัยชาร์ลส สจวร์ต และบรรณาธิการวารสาร Library Management กล่าวว่า ห้องสมุดเมื่อ 10 ปีที่แล้วย่อมแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากห้องสมุดในปัจจุบัน ถ้าหากบรรณารักษ์มองแต่เพียงสิ่งที่สามารถทำได้ในวันนี้ ก็อาจจะทำให้พลาดสิ่งที่ไม่ได้คำนึงถึงซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าไปอย่างน่าเสียดาย . เขาบอกว่าบทบาทของบรรณารักษ์นั้นคือการใช้ความรู้และจินตนาการ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับแนวทางในอดีตที่ผ่านมา บรรณารักษ์สามารถกำหนดได้ว่าอยากจะให้อนาคตของห้องสมุดเป็นอย่างไร แล้ววางแผนเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายนั้น . แต่การวางแผนระยะยาวถึง 20 ปี เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เขาจึงแนะนำเครื่องมือที่เรียกว่า Scenario Planning ซึ่งใช้ในการคาดการณ์และวางแผนเพื่อการปรับปรุงห้องสมุดในอนาคตระยะประมาณ 3-5 ปี โดยยกตัวอย่างของห้องสมุดที่ได้คาดการณ์อนาคตและทดลองทำตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง แม้จะเป็นโครงการที่ไม่เคยทำมาก่อน
-
WanderingBook EP.23 NIKSEN ศิลปะของการไม่ทำอะไรเลย
10/02/2022 Duração: 23minคุณใช้เวลาอยู่เฉยๆ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? . ทำไมการไม่ทำอะไรเลยจึงเป็นบาปในยุคสมัยใหม่? . ประเด็นนี้มีหนังสือวิเคราะห์กันไว้มากมาย ส่วน ‘NIKSEN ศิลปะของการไม่ทำอะไรเลย’ จะชวนคุณไม่ทำอะไรเลย อยู่นิ่งๆ และปล่อยให้เวลาไหลทิ้งบ้าง . NIKSEN รูปแบบการใช้ชีวิตของชาวดัตช์เพื่อจัดสมดุลชีวิต ประเทศที่ดัชนีความสุข ดัชนีชีวิตที่ดีสูงอันดับต้นๆ ของโลก เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 17 ของโลก ความเหลื่อมล้ำต่ำ ชั่วโมงการทำงานต่ำ สภาพแวดล้อมเอื้อให้คนอยู่เฉยๆ เพื่อค้นหาศักยภาพและสร้างสรรค์ แล้วมันก็ย้อนกลับมาส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต . การอยู่เฉยๆ จึงเรียกร้องโครงสร้างทางสังคมที่ดีมารองรับ และเราคู่ควรที่จะได้เวลาเพื่ออยู่เฉยๆ
-
WanderingBook EP.22 เหล่าภูติผีแห่งโตเกียว
17/01/2022 Duração: 24minทำความรู้จักกลุ่มวัฒนธรรมย่อยต่างๆ แห่งมหานครโตเกียว ทั้งชาว BDMS ผู้นิยมโลลิตา โฮสต์หนุ่มผู้คอยเยียวยาความเหงาแก่ผู้หญิง ไปจนถึงเหล่าคนจรจัดแห่งย่านซันยะที่ถูกลบออกไปจากแผนที่ จากหนังสือ The Ghosts of Tokyo ความฝัน แฟนตาซี และเงาของโตเกียว เขียนโดย รติพร ชัยปิยะพร . ภูตผีเหล่านี้คือปฏิกิริยาโต้กลับสังคมญี่ปุ่นในยุคสร้างชาติ พวกเขาต้องการออกจากกรอบเกณฑ์อันแน่นหนารัดรึง งอกงามเป็นความแตกต่างหลากหลาย มีเอกลักษณ์ และสร้างที่อยู่ที่ยืนได้ในที่สุด . แต่ในสังคมที่ยังถูกครอบงำด้วย ‘ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี’ วัฒนธรรมย่อยยังต้องหลบๆ ซ่อนๆ . ชวนให้ถามตัวเองว่า จริงๆ แล้ว เรากลัวผีหรือเรากลัวความจริง
-
Knowledge Exchange EP.41 ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในโลกการเรียนรู้?
11/01/2022 Duração: 32minกิตติรัตน์ ปิติพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้และผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ นำเสนอข้อมูลผลลัพธ์ของการพัฒนาคุณภาพคน ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านดัชนีชี้วัดจาก 5 แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย UNDP, World Bank, WEF, IMD และ OECD โดยข้อมูลเหล่านั้นถูกนำมาจัดกลุ่มและเรียบเรียงใหม่ เพื่อทำให้เห็นภาพรวมและแนวโน้มการเรียนรู้ของไทยเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ อย่างรอบด้านทุกแง่มุม . ข้อมูลดัชนีการพัฒนาดังกล่าวแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนามนุษย์ ด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านการศึกษา และด้านทักษะการเรียนรู้หรือทักษะอนาคตที่จำเป็น . เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประกอบกัน พบว่า ผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพคนของประเทศไทยในรอบ 20 ปี อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในโลก ในภาพรวมของการพัฒนานั้น ประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มดีขึ้นหลายด้าน แต่ประเด็นที่น่ากังวลและควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงให้ดีขึ้น ได้แก่ คุณภาพการศึกษา ทักษะประชากร การสร้างเสริมทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมไปถึงประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และจะกร
-
readWORLD EP.60 เด็กคือเจ้าของอนาคต โลกให้ความสำคัญกับแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก
06/01/2022 Duração: 23minพิพิธภัณฑ์ศิลปะเด็กนานาชาติ ที่นอร์เวย์ พิพิธภัณฑ์ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน ที่เดนมาร์ก บุงโกะและห้องสมุดเด็กโตเกียว ที่ญี่ปุ่น ห้องสมุดปาฏิหาริย์ ที่เกาหลีใต้ เป็นตัวอย่างรูปธรรมซึ่งชี้ให้เห็นว่าหลายประเทศในโลกต่างให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์พัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้และการแสดงออกอย่างอิสระ เพราะ “เด็กมีสิทธิที่จะสร้างศิลปะ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของตนเอง” . ‘ผู้ใหญ่’ หลายประเทศในโลกใบนี้ ให้ความสำคัญด้วยการคิดและลงมือทำอะไรให้เด็กๆ มากกว่าเพียงแค่ คำขวัญ และ การกำหนดวันสำคัญประจำปี เพราะพวกเขามองการณ์ไกลถึงการสร้างรากฐานของอนาคต... คือคนที่จะเติบโตเป็นเจ้าของอนาคต
-
readWORLD EP.59 โครงสร้างสังคมวัฒนธรรมที่ล้าหลังเป็นอุปสรรคต่อการสร้างทักษะอนาคตและนิเวศการเรียนรู้
20/12/2021 Duração: 46minเป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือการที่บุคคลสามารถกำกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (Self-Directed Learning) เป็นคนรักการเรียนรู้ (Love to Learn) และมี Growth Mindset . อาจเรียกสั้นๆ ว่าเป็นคน ‘คิดเป็น’ หรือ ‘รู้จักคิด’ . จริงอยู่ การส่งเสริมการอ่านก็ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ก็ดี หรือการพัฒนาห้องสมุดก็ดี มีส่วนสำคัญและจำเป็นต่อการทำให้คน ‘คิดเป็น’ แต่นั่นก็ยังไม่ใช่เงื่อนไขที่เพียงพอ หากปราศจากปัจจัยสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม . ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง และเป็นสาเหตุหนึ่งของความเปราะบางของไทยในเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ เพราะการเข้าถึงคุณภาพการศึกษาที่ดีกลับขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งของแต่ละครัวเรือน ดังนั้นศักยภาพคนจึงถูกบั่นทอนกดทับด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคม . ทว่า โครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมดูเหมือนจะเป็นตัวฉุดรั้งการพัฒนาศักยภาพคน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบอุปถัมภ์ การเล่นพรรคเล่นพวก สังคมลำดับชั้น วัฒนธรรมอำนาจนิยม และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ . แรงเฉื่อยทางวัฒนธรรมเหล่านี้เอง ทำให้ปัจเจกบุคคลไม่สามารถระเบิดพลังสร้างสรรค์ออกมาใช้ได้อย่าง
-
WanderingBook EP.21 ประวัติศาสตร์ไม่ใช่ภาระของความทรงจำ ‘สี่มหาจักรวรรดิบนเส้นทางแห่งกาลล่มสลาย’
09/12/2021 Duração: 27min‘สี่มหาจักรวรรดิบนเส้นทางแห่งกาลล่มสลาย’ หนังสือที่บอกเล่าความรุ่งโรจน์ ร่วงโรย และแตกดับของจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ทั้ง 4-อังกฤษ ออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี และรัสเซีย . มันยืนยันว่าต่อให้ยิ่งใหญ่เพียงใดก็เป็นเพียงสิ่งชั่วคราว การเพิกเฉยต่อปัจจัยความเปลี่ยนแปลงท่วมท้นที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นตัวเร่งสู่การล่มสลาย . ลอร์ด แอคตัน นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และนักเขียนชาวอังกฤษ กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์ไม่ใช่ภาระของความทรงจำ แต่เป็นการสาดแสงของจิตวิญญาณ” . ประวัติศาสตร์ทิ้งบทเรียนให้เสมอ ถ้าไม่เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ย่อมเท่ากับขังจิตวิญญาณไว้ในห้องมืด
-
WanderingBook EP.20 'งานบัดซบ'
30/11/2021 Duração: 25min‘งานบัดซบ’ นวนิยายสะท้อนภาพชีวิตคนชั้นล่างในสังคมทุนนิยมอเมริกันชนิดถึงลูกถึงคน ผ่านชีวิตของไชนาสกี ชายหนุ่มผู้ตระเวนทำงานไปทั่วประเทศตามแต่จะมีคนจ้าง . ไม่ว่าจะวัดด้วยมาตรฐานใด ไชนาสกีก็ห่างไกลจากการเป็นคนประพฤติตัวในลู่ในทาง ตรงกันข้าม เขาสำมะเลเทเมา ขี้โกง ขี้เกียจ ขี้เหล้า เราอาจบอกได้ว่าเป็นความผิดของเขาเองและพอๆ กับที่พูดได้ว่าระบบทำให้เขาเป็นอย่างที่เป็น . จะผ่านมากี่ทศวรรษ สังคมยังมีคนอย่างไชนาสกี ทำไม? เพราะพวกเขาเหลวแหลกโดยสันดานหรือระบบที่ดำรงอยู่ไม่สามารถหล่อเลี้ยงผู้คนให้เติบโตได้ . จะผ่านมากี่ทศวรรษ การขูดรีดและเอาเปรียบแรงงานยังไม่หมด ทำไม? . ...ไม่รู้
-
WanderingBook EP.19 ‘เมื่อโลกซึมเศร้า’ เรามันเฮงซวยหรือโลกมันห่วยแตก?
18/11/2021 Duração: 23minคุณคิดว่ามีผู้ชนะบนยอดเขาแห่งความสำเร็จอยู่กี่คน น้อยมากเมื่อเทียบกับประชากร 7 พันล้านคนบนโลก แต่ทุนนิยมทำให้เราเชื่อว่าใครๆ ก็ประสบความสำเร็จได้ด้วยการพยายาม พัฒนาตัวเอง คิดบวก มีความฝัน มี Passion และถ้าคุณทำทุกอย่างแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ ก็แปลว่าคุณมันห่วย เป็นพวกขี้แพ้ . ‘เมื่อโลกซึมเศร้า Mark Fisher โลกสัจนิยมแบบทุน และลัดดาแลนด์’ ของสรวิศ ชัยนาม คือการอธิบายว่าเอาเข้าจริง เรามันเฮงซวยหรือโลกกันแน่ที่ห่วยแตก . ทุนนิยมยุคปลายหลอกเราด้วยยากล่อมประสาทอะไรบ้าง มันผลักภาระทุกอย่างเป็นเรื่องส่วนบุคคล ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รู้สึกไร้ค่า ดีไม่พอ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือว่าโลกต่างหากที่ซึมเศร้า รัฐที่ไม่ดูแลประชาชน ความเหลื่อมล้ำ การขูดรีด จนทำให้เราป่วย . แต่จะคิดถึงเรื่องพวกนี้ทำไม ในเมื่อการจ่ายยาง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมตั้งเยอะ
-
readWORLD EP.58 ปิดหรือปรับปรุง? ห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์ คำถามถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยที่พึงมีต่อสังคม
10/11/2021 Duração: 33minห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หนังสือกว่า 30,000 เล่มกำลังถูกโยกย้ายระหกระเหินไปยังสถานที่แห่งใหม่ พื้นที่การเรียนรู้เดิมจะแปลงโฉมเป็นพื้นที่การทำงานร่วมกัน พื้นที่พบปะแลกเปลี่ยนความคิด ตามสมัยนิยม . แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วย ท่ามกลางคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับห้องสมุดทั่วโลก รวมทั้งห้องสมุดของไทย แต่การเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดมหาวิทยาลัยนั้นมีความละเอียดอ่อนซับซ้อนกว่าการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดประเภทอื่น เพราะมันถูกตั้งคำถามที่เชื่อมโยงถึงปรัชญาและบทาทหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่อสังคม . การปิดห้องสมุดหนึ่งๆ ไม่ใช่หมายความว่า ‘ห้องสมุด’ กำลังจะตาย แต่เป็นธรรมดาของสรรพสิ่งที่ย่อมเปลี่ยนรูปแบบและหน้าที่ไปตามกาลสมัย ทว่า กรณีของห้องสมุดคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย หรือห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา นั้น เป็นไปได้หรือไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นเพราะความไม่เข้าใจ (และไม่ใส่ใจ?) ของผู้มีหน้าที่และอำนาจตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรความรู้ และการจัดการพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนวิชาการ ตลอดจนทุกภาคส่วนในสังคมที่เกี่ยวข้องกั
-
ReadAround EP.36 ‘ห้องสมุดมูราคามิ’ แรงบันดาลใจจากนักเขียน จุดประกายไอเดียคนรุ่นใหม่
28/10/2021 Duração: 23minRead Around EP.36 คัดสรรเรื่องราวข่าวสารความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ เพื่อคิดทันโลกและเข้าใจตนเอง พบกับ... . ‘ห้องสมุดมูราคามิ’ แรงบันดาลใจจากนักเขียนชื่อก้อง จุดประกายไอเดียคนรุ่นใหม่ - 1 ตุลาคม 2564 เป็นวันแรกที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ เปิดให้บริการ ‘ห้องสมุดฮารูกิ มูราคามิ’ (Haruki Murakami Library) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักเขียนชื่อดังชาวญี่ปุ่นซึ่งเรียนจบวิชาการละคร ภาควิชาวรรณคดีจากสถาบันแห่งนี้ ภายในห้องสมุดมีวัตถุจัดแสดงที่ได้รับการบริจาคมาจากมูราคามิ เช่น บันทึกส่วนตัว ต้นฉบับลายมือ บทปริทัศน์หนังสือ และงานแปล รวมทั้งแผ่นเสียงนับหมื่นชิ้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีแนวทางที่จะสร้างสรรค์ห้องสมุดแห่งนี้ให้เป็นสถานที่บ่มเพาะด้านวัฒนธรรม เช่น เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามาบริหารจัดการร้านกาแฟซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากมูราคามิ รวมทั้งให้นักศึกษาได้ทดลองวางแผนและจัดกิจกรรม จัดนิทรรศการและงานสัมมนาต่างๆ . เด็กคนไหนอ่านไม่คล่อง ให้น้องหมา (แมว ม้า หมู) นั่งฟังเป็นเพื่อน - 4 ตุลาคม วันสัตว์โลก (World Animal Day) รู้จักอีกบทบาทของพี่น้องผองสัตว์ ที่มีส่วนช่วยบำบัดปัญหาอ่านไม่คล่องให้กับเด็กๆ เพราะสรรพสัตว์
-
Knowledge Exchange EP.40 การเปลี่ยนแปลงสังคมเชิงระบบด้วยปัญญารวมหมู่
15/10/2021 Duração: 46minสังคมโดยทั่วไปมักให้คุณค่ากับคนเก่งหรือคนที่มีสติปัญญาโดดเด่น เพราะเชื่อว่าคนเก่งจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า มีความสุขมากกว่า และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าคนทั่วไป . ทว่าแนวคิดเรื่อง ‘ปัญญารวมหมู่’ หรือ Collective Intelligence มีมุมมองตรงกันข้าม คือไม่เชื่อเรื่อง ‘อัศวินขี่ม้าขาว’ แต่มีสมมุติฐานว่า หากมีเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้คนซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย ได้มีความสัมพันธ์ที่เสมอภาคกัน และสามารถทำงานร่วมกันได้ จะก่อให้เกิดคุณค่าและประสิทธิภาพสูงสุดต่อสังคมส่วนรวม เพราะในความเป็นจริงมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงลำพัง แต่ต้องมีปฏิสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัย เสมือนอวัยวะในร่างกายที่ทำงานสอดประสานกัน . ในการประชุม TK Forum 2021 จัดโดยสถาบันอุทยานการเรียนรู้ ณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตำแหน่งขณะนั้น ปัจจุบันเป็นรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ Thai PBS) ได้บรรยายเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงสังคมเชิงระบบด้วยปัญญารวมหมู่” ว่าด้วยการรวมพลังทางปัญญาของผู้คนในสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การคลี่คลายปัญหาในระดับโครงสร้างอย่างตรงจุด
-
readWORLD EP.57 ‘Social Listening’ การรับฟังเสียงสังคม สำรวจอารมณ์และความคิดเห็นบนโลกโซเชียล
30/09/2021 Duração: 27minการรับฟังเสียงสังคม หรือ Social Listening คือการเก็บข้อมูลผ่านโลกออนไลน์ เป็นเครื่องมือสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่มีระบบวิธีการรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ประมวลผล เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนานโยบายสาธารณะ ให้เหมาะสมกับบริบทและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน . เป็นการเก็บความคิดเห็นที่เกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านการระบุคำหลักหรือแฮชแท็ก (keyword/hashtag) ทำให้ผู้วิจัยเห็นถึงการสนทนาที่หลากหลาย เปิดกว้าง เป็นอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยข้อคำถามในแบบสอบถาม และมีเวลากำกับแน่ชัด ช่วยให้ผู้ออกแบบนโยบายสามารถมองเห็นทิศทาง และแนวโน้มของสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถแก้ไขปรับปรุงนโยบายหรือบริการสาธารณะได้อย่างทันท่วงทีและตรงตามความต้องการของประชาชน . ถึงแม้จะมีข้อดีอยู่มาก เครื่องมือนี้ก็มีจุดอ่อนและข้อจำกัด ซึ่งผู้สำรวจวิจัยความคิดเห็นของประชาชนที่นำเอาวิธีการ Social Listening มาใช้ จำเป็นต้องตระหนักและพึงระมัดระวัง เช่น ความครอบคลุมของกลุ่มประชากรที่จะสำรวจ อคติของผู้วิจัย ขนาดและความกระจัดกระจายของข้อมูล . ข้อมูลเนื้อหาจาก: เก็บเสียงผ่านตัวอักษรด้วย ‘Social Listening’ (เรื่อง: รัสมิ์กร นพรุจกุล เรียบเรียง:
-
WanderingBook EP.18 ไวมาร์ล่มสลาย มนุษย์ไม่ส่งเสียง ปีศาจคำราม
15/09/2021 Duração: 24min‘ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง’ ของภาณุ ตรัยเวช พาผู้อ่านย้อนกลับไปสำรวจสังคมเยอรมนีใต้ซากปรักหักจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่ออุดมการณ์ความเชื่อใหม่และเก่าปะทะกันจนถึงจุดที่มิอาจรอมชอมกันได้อีก . ปีศาจตนหนึ่งก็ถูกสร้างขึ้นมา . พลังงานชนิดไหนที่สามารถสร้างปีศาจน่ากลัวตนนี้ได้ การจะหาคำตอบคือการปะติดต่อชิ้นส่วนต่างๆ ณ เวลานั้นเข้าด้วยกัน บางทีคนในสังคมนั่นแหละที่ช่วยกันสร้างปีศาจอย่างฮิตเลอร์ขึ้นมา กระทั่งนำไปสู่การล่มสลายของสาธารณรัฐไวมาร์ . และเป็นการล่มสลายของความเป็นมนุษย์ในสังคมเยอรมนีที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ . เพราะมนุษย์ไม่ยอมส่งเสียง ปีศาจจึงคำราม
-
readWORLD EP.56 ห้องสมุดยอดเยี่ยมแห่งปี สองวิถีการพัฒนาเมือง
25/08/2021 Duração: 32min‘ไดค์มัน บยอร์วิกา’ หรือห้องสมุดประชาชนออสโล ประเทศนอร์เวย์ คว้างรางวัลห้องสมุดประชาชนแห่งปี 2021 เอาชนะห้องสมุดที่เข้ารอบสุดท้ายอีก 4 แห่ง จากประเทศออสเตรเลีย เบลเยียม จีน และเนเธอร์แลนด์ . ข้อที่น่าสังเกตคือ ห้องสมุด 4 ใน 5 แห่งต่างถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง ซึ่งหากวิเคราะห์แล้วจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือห้องสมุดในกลุ่มพัฒนาย่านเมืองใหม่ ได้แก่ห้องสมุดของนอร์เวย์และจีน กับห้องสมุดในกลุ่มพัฒนาย่านเมืองเก่า ได้แก่ห้องสมุดของเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ . แนวคิดการพัฒนาเมืองของสองกลุ่ม สะท้อนถึงเบื้องหลังความคิดที่เปรียบเสมือนคลื่นวัฒนธรรมการพัฒนาสองแนวทาง หนึ่งคือการพัฒนาสู่ความทันสมัย บ้างเรียกว่าความเจริญหรือเดิมใช้คำว่า ‘ศิวิไลซ์’ อีกหนึ่งนั้นคือการพัฒนาที่หวนย้อนสู่การแสวงหาคุณค่าดั้งเดิม และการอยู่ร่วมอย่างกลมกลืนไม่แปลกแยกระหว่าง ‘เก่า’ กับ ‘ใหม่’ . ถ้ามองให้พ้นไปจากเรื่องราวการประกวดห้องสมุดแห่งปี ทำให้ชวนตั้งคำถามถึงประเด็นห้องสมุดกับการพัฒนาเมือง ว่า... . แนวทางพัฒนาแบบใดที่เหมาะสมกับบริบทและความเปลี่ยนแปลง โดยที่ห้องสมุดและเมืองมีความเชื่อมโยงกัน . เมืองและห้องสมุดแบบใดที่ตอบโจทย์ผู้คนและช
-
WanderingBook EP.17 'ขออภัย แต่ไม่ต้องรีบ' ขออภัยที่ไม่ฮาวทู (ไม่บาปที่จะช้า)
16/08/2021 Duração: 24minทุกวันนี้หนังสือฮาวทูได้รับความนิยมสูง ในแง่หนึ่งมันกำลังบอกความเป็นไปบางอย่างทางสังคม ใครบ้างไม่อยากประสบความสำเร็จ ไม่อยากร่ำรวย เพราะในภาพใหญ่มันคือความมั่นคงปลอดภัยในรัฐที่รับประกันสิ่งเหล่านี้ให้กับประชาชน . แต่ 'ขออภัย แต่ไม่ต้องรีบ' คือความพยายามชะลอความเร็ว หันกลับมาตั้งคำถามต่อสิ่งที่วัฒนธรรมความสำเร็จหยิบยื่นให้ การมีความสุข การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ การทำตาม Passion ชีวิตที่มีระเบียบ การพักผ่อนอย่างมี Productivity และอื่นๆ อีกมากมาย . พร้อมกันนั้นยังชวนหันมาดูรายละเอียดรอบตัวที่ทำให้ใครสักคนไปถึงฝั่งฝันหรือล้มหายตายจาก เพราะเราไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่เกาะเกี่ยวกับคนอื่นและโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองอย่างแยกไม่ออก
-
readWORLD EP.55 ‘ญี่ปุ่น’ เปิดทางร้านหนังสือ ผนึกจุดแข็งยกเครื่องห้องสมุด
30/07/2021 Duração: 25minห้องสมุดเมืองหลายแห่งในญี่ปุ่นประสบปัญหามีผู้ใช้บริการน้อย จึงเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ หนึ่งในนั้นคือบริษัท Culture Convenience Club (CCC) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจ Tsutaya ร้านค้าปลีกหนังสือและดีวีดีให้เช่ารายใหญ่ โดยมีแนวคิดหลอมรวมห้องสมุดกับร้านหนังสือไว้ด้วยกัน . CCC ปรับเปลี่ยนห้องสมุดเมือง 4 แห่งให้คล้ายกับศูนย์หนังสือขนาดใหญ่ เพิ่มปริมาณหนังสือมากเป็น 2 เท่าของห้องสมุดทั่วไป ทำให้มีหนังสือให้บริการมากกว่า 200,000 เล่ม เปิดทำการ 7 วันต่อสัปดาห์ 12 ชั่วโมงต่อวัน ไม่เว้นวันหยุด . ภายในอาคารเต็มไปด้วยชั้นหนังสือขนาดใหญ่ที่เปิดโล่ง ออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างสวยงาม เน้นการจัดเรียงหนังสือให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการค้นหาหัวข้อหรือเรื่องราวที่ผู้อ่านสนใจ ซึ่งปรับมาจากการเรียงดีวีดีให้เช่าของร้าน Tsutaya ผู้ใช้บริการสามารถอ่านหนังสือทุกเล่มที่ต้องการ ไม่ว่าจะหยิบมาจากโซนร้านหนังสือหรือห้องสมุด และถ้าใช้งานเสร็จ ก็สามารถนำไปคืนตรงจุดยืมคืนที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ หรือหากต้องการเป็นเจ้าของก็สามารถซื้อได้ . การบูรณาการห้องสมุดและร้านหนังสือ ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ของผู้ใช้บริการ ทั้ง
-
readWORLD EP.54 ปิดตำนานแผนกการพิมพ์ Oxford University Press – ตรวจสุขภาพ ‘ผลลัพธ์การพัฒนาคน’ ของไทย
15/07/2021 Duração: 29min2 เรื่อง 2 รส จากรายการ readWORLD ทาง TK Podcast… . สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ตัดสินใจยุติแผนกการพิมพ์ที่มีอายุยืนยาวมานานกว่าสี่ร้อยปี อันเป็นผลมาจากยอดขายหนังสือที่ลดลง พฤติกรรมผู้อ่านที่เปลี่ยนไป และเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่ ทำให้สำนักพิมพ์ไม่สามารถแบกต้นทุนจากการดำเนินงานเอง เมื่อเทียบกับการจ้างพิมพ์โดยผู้รับจ้างภายนอก (outsource) . คำถามที่น่าสนใจคือ การปิดโรงพิมพ์ของตัวเองนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพของหนังสือที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์หรือไม่? สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยตอบสนองต่อพฤติกรรมของนักอ่านและนักเขียนในทุกวันนี้อย่างไร? และสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย (ที่มีชื่อเสียงระดับโลก) ยังคงมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใดในโลกหนังสือยุคปัจจุบัน? . จากนั้น ไปฟังผลสรุปจากการสำรวจว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนในโลกของการเรียนรู้ ด้วยข้อมูลสถิติชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพคนของประเทศไทย เปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในรอบ 20 ปี ซึ่งมีทั้งด้านที่ดีและด้านที่ต้องปรับปรุง
-
WanderingBook EP.16 'เมื่อโลกไม่มีเรา'
08/07/2021 Duração: 23minคุณจินตนาการออกไหมว่า ในโลกที่ไร้มนุษย์จะมีสภาพเป็นอย่างไร? . มันยากทีเดียวที่จะนึกฝันเพราะเราอยู่ในยุคที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งหรือ Anthropocentric เราจัดวางตัวเองไว้เหนือโลกธรรมชาติ . ‘THE WORLD WITHOUT US’ หรือ ‘เมื่อโลกไม่มีเรา’ จะพาไปเยี่ยมชมโลกอีกใบที่ไม่มีมนุษย์เหลืออยู่ โลกที่มนุษย์ทิ้งภาระไว้ให้ธรรมชาติต้องเยียวยาตัวเอง โลกที่ธรรมชาติจะเอาคืนสิ่งที่มันสูญเสียไป-ความสมดุล ความอุดมสมบูรณ์ ผืนป่า แม่น้ำ ทะเล ไม่ว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนก็ตาม . อย่างไรก็ตาม โลกที่ไม่มีมนุษย์เป็นไปได้ยากมาก แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หาก ‘เรา’ ยังคิดและทำ ไม่เปลี่ยนแปลง . โลกที่ไม่มี ‘เรา’ อาจรออยู่ในอนาคตข้างหน้า