Tk Podcast

  • Autor: Vários
  • Narrador: Vários
  • Editora: Podcast
  • Duração: 184:43:26
  • Mais informações

Informações:

Sinopse

Episódios

  • WanderingBook EP.2 หรือเราอยู่ในเขาวงกตของโลกเสมือน?

    07/05/2020 Duração: 28min

    ต้องกักตัวอยู่กับบ้านเพราะไวรัสโควิด-19 หลายคนเบื่อเพราะขาดแคลนกิจกรรมทำ วิธีหนึ่งคือการเลื่อนฟีดโซเชียล มีเดีย บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือบนคอมพิวเตอร์เพื่อบรรเทา อันที่จริงต่อให้ไม่มีโควิด-19 คนไทยก็ใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตบนหน้าจอมือถือประมาณ 4 ชั่วโมง 57 นาทีต่อวัน ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ยิ่งในสถานการณ์แบบนี้การใช้อาจเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้น Cal Newport ผู้เขียนหนังสือ ‘ดิจิทัลมินิมัลลิสม์’ ชวนคนอ่านไปทำความรู้จักกับเศรษฐกิจของการดึงดูดความสนใจ เปิดเผยถึงวิธีที่บริษัทเทคโนโลยีออกแบบแอพพลิเคชั่นและโซเชียล มีเดียเพื่อคนเสพติด การเล่นกลกับจิตวิทยาของมนุษย์ พร้อมกับตั้งคำถามว่าเรากำลังใช้เทคโนโลยีหรือเทคโนโลยีกำลังใช้เรา และแนะนำแนวทางที่เราจะทวงคืนอิสรภาพและเวลากลับคืน ทั้งยังเชื้อเชิญให้ทบทวนถึงสิ่งที่มีความหมายหรือคุณค่าในชีวิตที่เรายึดถือ เพื่อแสวงหาวิธีการใช้เทคโนโลยีตอบโจทย์คุณค่านั้น นี่ไม่ใช่การต่อต้านเทคโนโลยี หากคือ “ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ประโยชน์ของเทคโนโลยี แต่อยู่ที่การมีอิสรภาพเหนืออำนาจของเทคโนโลยีต่างหาก” ถึงที่สุดแล้ว การใช้เทคโนโลยีอะไร แค่ไหน และอย่างไร เป็นการตัดสินใจของตัวเราเอง ดัง

  • Coming To Talk EP.42 “อ่านสร้างชาติ” ในภาวะปกติ แต่ยามนี้ต้อง “อ่านต้านโควิด-19”

    23/04/2020 Duração: 01h01min

    เป็นเวลานานกว่าสิบปีที่ ‘โครงการอ่านสร้างชาติ’ ถือกำเนิดขึ้นโดยมูลนิธิกระจกเงา จากการที่ได้รับหนังสือจำนวนมากซึ่งติดมากับสิ่งของบริจาคอื่นๆ จึงเกิดแนวคิดว่าจะนำหนังสือเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้อย่างไร ด้วยพื้นฐานความชำนาญด้านงานอาสาสมัคร จึงเกิดกระบวนการจำแนกหนังสือดีออกจากกองหนังสือบริจาค การจัดหมวดหมู่หนังสือเพื่อส่งต่อให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการใช้จริง การจัดกิจกรรมหนังสือเล่มละบาท และที่แทบไม่น่าเชื่อก็คือหนังสือและเศษกระดาษที่ถูกคัดแยกออกไปยังมีมูลค่าไม่น้อย เพราะเมื่อนำไปชั่งขายแล้วสามารถย้อนกลับมาเป็นเงินทุนที่ใช้ในการบริหารจัดการหนังสือมือสองและค่าขนส่งหนังสือได้อีก แม้จะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส ผู้คนที่เก็บตัวอยู่บ้านก็ยังได้อ่าน เพราะทางมูลนิธิฯ ได้ริเริ่มโครงการ ‘อ่านต้านโควิด-19’ จัดหนังสือดีนับร้อยเล่มส่งให้ถึงบ้านฟรี เพียงแค่สั่งจองหนังสือตามปกที่ระบุ 1 คน 1 เล่ม ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก “โครงการอ่านสร้างชาติ มูลนิธิกระจกเงา” ซึ่งจนถึง ณ วันที่เผยแพร่บทสัมภาษณ์นี้อาสาสมัครกำลังคัดเลือกและทำความสะอาดหนังสือ เตรียมเปิดให้จองเป็นเฟสที่ 3 แล้ว

  • WanderingBook EP.1 ขีดลมเป็นพรมแดน สร้างศรัทธาเป็นกำแพง

    14/04/2020 Duração: 18min

    ชวนอ่านวรรณกรรมเยาวชน ‘The Night Diary’ หรือ ‘ถ้าแม่ฟังอยู่โปรดรู้ว่าหนูคิดถึง’ เรื่องราวการอพยพหนีตายของณิชาเด็กหญิงวัย 12 ขวบและครอบครัว ผ่านบันทึกที่ณิชาเขียนถึงแม่ผู้ล่วงลับช่วงกลางปี 1947 ในห้วงยามที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ เอกราชที่ได้มากลับกลายเป็นช่วงเวลาแห่งการแบ่งแยกระหว่างผู้คนต่างศาสนา ฮินดู ซิกข์ มุสลิม ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียถูกเฉือนแบ่งออกไปเป็นประเทศปากีสถานในปัจจุบัน เพื่อเป็นแผ่นดินของชาวมุสลิม การขีดลมเป็นพรมแดนครั้งนั้นก่อให้เกิดคลื่นอพยพของผู้คนกว่า 14 ล้านคน และครอบครัวของณิชาคือ 1 ในนั้นที่โชคดี เพราะในระหว่างการอพยพมีกว่า 1 ล้านชีวิตที่ต้องสูญสิ้นไประหว่างทาง บันทึกของเด็กวัย 12 ขวบจึงเต็มไปด้วยความสับสน ไม่เข้าใจ และคำถามต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เหตุใดเพียงชั่วข้ามคืนเส้นสมมติและศรัทธาที่ต่างกันสามารถสร้างความโกลาหลและเข่นฆ่ากันได้ นี่คือเรื่องราวของเด็กน้อยที่ชวนให้ผู้ใหญ่คิดว่า ถึงที่สุดแล้ว เส้นพรมแดนและกำแพงแห่งศรัทธานั้น เราสร้างมันขึ้นมาในใจของตัวเราเองหรือเปล่า?

  • Coming To Talk EP.41 สงครามไวรัสโควิด จุดติดการเรียนรู้ออนไลน์

    01/04/2020 Duração: 59min

    การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้องคาพยพของการเรียนรู้และการศึกษาทั้งในและนอกระบบถูกโยกย้ายไปไว้ภายใต้ร่มเงาออนไลน์แทบทั้งหมดโดยปริยาย ราวกับว่านี่คือโอกาสให้ผู้คนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แนวใหม่ที่มีความอิสระและยืดหยุ่นมากกว่าการเรียนในห้องเรียน ในภาวะที่ต้อง ‘อยู่บ้าน หยุดเชื้อ’ เพื่อทำสงครามกับไวรัส การเรียนรู้ออนไลน์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัวและไม่ใช่เป็นแค่ทางเลือก เกิดไอเดียสร้างสรรค์เนื้อหาและเทคนิควิธีการนำเสนอใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจผู้เรียน ยิ่งเวลาทอดยาวออกไป ความคุ้นเคย การยอมรับ และทัศนคติที่เปลี่ยนไปของทั้งผู้เรียนและผู้สอน จะยิ่งเป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ออนไลน์ให้ขยายตัวอย่างแพร่หลายภายหลังวิกฤติไวรัสผ่านพ้น แม้ว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนซึ่งแทบทั้งหมดยังอยู่ในช่วงปิดเทอม แต่ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เป็นไปได้ว่าห้องเรียนกายภาพจะมีการปรับตัวขนานใหญ่ จนเกิดการผสมผสานรูปแบบการเรียนออนไลน์และการเรียนในห้องเรียนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น พูดคุยกับ ‘ครูเก๋’ จารุณี สินชัยโรจน์กุล เจ

  • readWORLD EP. 49 อีริค หยวน ผู้ให้กำเนิด ‘Zoom’ เครื่องมือเชื่อมสัมพันธ์แม้มีระยะห่าง

    24/03/2020 Duração: 32min

    วิกฤติไวรัสโควิด-19 จะเปลี่ยนความคิดและวิถีชีวิตของเราไปตลอดกาลหลังจากนี้ การปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีสนับสนุนชีวิตประจำวันในห้วงวิกฤต เช่น การเรียนออนไลน์ การทำงานจากบ้าน (work from home) เริ่มเป็นสิ่งคุ้นเคย แอพพลิเคชั่นยอดนิยมที่ถูกกล่าวถึงกันมากอันหนึ่งก็คือ Zoom ซึ่งขณะนี้มีการนำไปใช้กับการเรียนการสอนและการประชุมงานเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวาง Zoom กำเนิดจากความรักของอีริค หยวน ที่มีต่อหญิงสาวที่ต้องอยู่ห่างไกลกัน ประกายความคิดที่อยากมีเครื่องมือร่นระยะทางให้คนรักสองคนได้พบปะเห็นหน้าและพูดคุยกัน กลายมาเป็นเทคโนโลยีเชื่อมสัมพันธ์ของผู้คน และถูกใช้งานอย่างทรงพลังในห้วงวิกฤติไวรัสมหาภัย Zoom ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารในสภาวะที่เราต้องร่วมมือกันรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เท่านั้น แต่ยังทำให้ อีริค หยวน ผงาดเป็นมหาเศรษฐีหน้าใหม่จากราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้นในชั่วเวลาเพียงไม่นาน

  • TKFORUM EP.24 นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศญี่ปุ่น

    12/03/2020 Duração: 01h06min

    ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรอยู่ในระดับร้อยละ 99 ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ ระบบการศึกษา ค่านิยมและวัฒนธรรมการอ่านของญี่ปุ่น ซึ่งกระตุ้นให้ประชาชนอ่านออกเขียนได้และมีนิสัยรักการอ่านหนังสือ ปัจจัยแวดล้อมทั้งด้านนโยบาย ตลาดหนังสือ และพฤติกรรมการอ่านของชาวญี่ปุ่น นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศญี่ปุ่น บันทึกในโอกาสการสัมมนา TK Forum 2010 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ เพื่อนำเสนอเนื้อหาส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง นโยบายส่งเสริมการอ่านของไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งศึกษาความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสวีเดน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศเวียดนาม

  • TKFORUM EP.23 นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศเกาหลีใต้

    05/03/2020 Duração: 01h09min

    ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการอ่านออกเขียนได้เป็นอันดับที่ 17 ของโลก โดยมีสถิติอัตราการอ่านออกเขียนได้ ร้อยละ 93.5 อันเนื่องมาจากนโยบายส่งเสริมการศึกษา ระบบการศึกษา การพัฒนาระบบห้องสมุด และการสนับสนุนอย่างจริงจังของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งทัศนคติที่ฝังรากลึกลงในวัฒนธรรมของประชาชนชาวเกาหลีที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการศึกษา นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศเกาหลีใต้ บันทึกในโอกาสการสัมมนา TK Forum 2010 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ เพื่อนำเสนอเนื้อหาส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง นโยบายส่งเสริมการอ่านของไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งศึกษาความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสวีเดน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศเวียดนาม

  • Read Around EP.16 9 พิพิธภัณฑ์เปิดใหม่ ปี 2020 ที่น่าจับตามอง

    27/02/2020 Duração: 27min

    สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบกับเรื่อง… • สถิติดิจิทัลของคนไทย ปี 2020 อัพเดทพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของคนไทยในปีนี้ จาก Digital 2020 Report • กลยุทธ์การตลาดของ Amazon จากร้านออนไลน์สู่ร้านออฟไลน์ แม้ว่าธุรกิจร้านหนังสือทั่วโลกจะอยู่ในช่วงขาลง แต่ Amazon ไม่เคยกลัว และนำหลายบทเรียนความสำเร็จจากการทำร้านหนังสือออนไลน์ มาใช้กับการลงสังเวียนร้านหนังสือแบบกายภาพ • SkillsFuture การขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสิงคโปร์ มุ่งยกระดับศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนสิงคโปร์ทุกวัยทุกสาขาอาชีพ โดยกำหนดเป็นวาระเห็นชาติและมีโครงการที่เป็นรูปธรรม • 9 พิพิธภัณฑ์เปิดใหม่ ปี 2020 ที่น่าจับตามอง คอศิลปะพลาดไม่ได้ กับความเคลื่อนไหวของพิพิธภัณฑ์น่าสนใจหลายแห่งทั่วโลก ที่กำลังจะเปิดให้บริการในปีนี้

  • TK FORUM EP.22 นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศสวีเดน

    20/02/2020 Duração: 01h21min

    ประเทศสวีเดนมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรอยู่ในระดับร้อยละ 99 โดยภาครัฐมีบทบาทสำคัญอย่างสูงในการผลักดันและดำเนินนโยบายด้านส่งเสริมการอ่าน ทั้งนี้เป้าหมายของนโยบายการอ่านคือการสร้างสรรค์และผลิตวรรณกรรมคุณภาพให้กระจายไปถึงทุกคนทั่วประเทศอย่างเท่าเทียมกัน โดยรัฐบาลใช้มาตรการต่างๆ ผ่านทางนโยบายราคา นโยบายภาษี การให้เงินอุดหนุน การจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อเป็นกลไกเสริมหน่วยงานหลักอย่างเช่นโรงเรียนและห้องสมุด ตลอดจนการสนับสนุนสำนักพิมพ์และธุรกิจร้านค้าหนังสือ

  • Coming To Talk EP.40 ‘Bookcase’ ห้องสมุด ร้านกาแฟ พื้นที่การเรียนรู้

    13/02/2020 Duração: 35min

    เมื่องานสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยไม่ตอบโจทย์ของชีวิต น้อย – ดร.สิริพัชร์ สุธีรภัทรานนท์ จึงหันหลังให้กับงานราชการ แล้วมาร่วมกับเพื่อนสนิทเปิดห้องสมุด Bookcase Space and Café ในหมู่บ้านเล็กๆ นอกเมืองเชียงราย ที่นี่คือพื้นที่เปิดสำหรับคนรักการอ่านหนังสือ หลงใหลกาแฟ และใฝ่หามิตรภาพ แม้ความตั้งใจดั้งเดิมอยากจะทำห้องสมุด แต่ด้วยหลักคิดที่ยืดหยุ่นของเธอและหุ้นส่วน ห้องสมุดจึงกลายเป็นทั้งร้านกาแฟ ร้านอาหาร (เมนูตามใจเจ้าของร้าน) ที่นั่งเล่น สถานที่พบปะ และพื้นที่กิจกรรมทางสังคม สไตล์การตกแต่งดูเหมือนร้านอาหารหรือร้านกาแฟ แต่จุดเด่นของสถานที่นี้คือชั้นหนังสือ มีหนังสือหลากหลายประเภทตามรสนิยมและความสนใจของเจ้าของ ทั้งเรื่องแปล หนังสือรางวัลซีไรต์ หนังสือวิชาการด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ เพศสภาวะ สตรีนิยม รวมไปถึงวรรณกรรมเยาวชน หนังสือเด็ก หนังสือนำเที่ยว หนังสือแนววิทยาศาสตร์อ่านง่าย ทั้งหมดนี้เพื่อสะท้อนแนวคิดที่คำนึงถึงผู้คนทุกกลุ่ม ทุกความสนใจ ทุกความสามารถที่แตกต่าง โดยไม่แบ่งแยกกีดกัน นอกจากจะเป็นพื้นที่อ่านและให้บริการยืมคืนหนังสือแล้ว ยังเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ ใช้จัดเวิร์คช็อปและกิจกรรมต่างๆ และด้วย

  • Coming To Talk EP.39 สุนทรียะสร้างคน ศิลปะสร้างเมือง

    06/02/2020 Duração: 55min

    สุวิทย์ ใจป้อม นายกสมาคมขัวศิลปะ บอกเล่าแนวคิดความเป็นมาของการส่งเสริมเชียงรายให้เป็น ‘เมืองศิลปะ’ ซึ่งดำเนินการมาก่อนหน้าที่จะได้รับการประกาศชื่อจากกระทรวงวัฒนธรรมเป็น 1 ใน 3 จังหวัดนำร่องร่วมกับกระบี่และโคราช จุดแข็งที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นคือเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีการรวมตัวอย่างเหนียวแน่นของศิลปิน มีการถ่ายทอดความคิดและส่งผ่านการทำงานต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น และยังเป็นจังหวัดเดียวที่บรรดาศิลปินสามารถร่วมกันจัดตั้ง “สมาคมศิลปินเชียงราย” ได้สำเร็จตั้งแต่ปี 2547 อันนำมาสู่การก่อตั้ง “ขัวศิลปะ” เพื่อเป็นองค์กรที่รวบรวมผลงานศิลปะของศิลปินในเมืองเชียงราย และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องการเรียนรู้ศิลปะในจังหวัด โครงการเด่นที่ดำเนินการภายใต้การเป็นเมืองศิลปะ เช่น วอลล์อาร์ตหรือการวาดภาพบนผนังอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสาร โครงการเปิดบ้านศิลปิน สร้างเส้นทางท่องเที่ยวแนวใหม่ด้วยแนวคิดโฮมสเตย์ ให้นักท่องเที่ยวใช้ชีวิตและเรียนรู้ศิลปะจากศิลปินตัวจริงๆ มีบ้านศิลปินกว่า 40 หลังเข้าร่วมในโครงการ โครงการสอนศิลป์กับศิลปินเชียงราย โดยร่วมกับ ททท.และโรงเรียนต่างๆ และขณะนี้กำลังเตรียมพร้อมจัดงานใหญ่ระดับโลกคือ มหกรรมศิลปะร่ว

  • Read Around EP.15 โปรเจ็คทรงพลังด้านการศึกษาและการรู้หนังสือในอังกฤษ

    30/01/2020 Duração: 24min

    สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนมกราคม 2563 พบกับเรื่อง… • โปรเจ็คทรงพลังด้านการศึกษาและการรู้หนังสือในอังกฤษ ปี 2020 ทำความรู้จักโครงการดีๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาและการรู้หนังสือ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในอังกฤษ • อุตสาหกรรมหนังสือกระดาษของไต้หวันกำลังสั่นคลอน ไต้หวันซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของคนรักหนังสือ กำลังพบกับสถานการณ์คนเข้าร้านหนังสือลดลงจนน่าใจหาย สำนักพิมพ์และร้านหนังสือหลายแห่งกำลังทยอยปิดตัว เนื่องมาจากผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อพฤติกรรมการอ่าน • ชาวอเมริกันเข้าห้องสมุดมากกว่าเข้าโรงหนัง แม้จะมีข่าวห้องสมุดหลายแห่งปิดตัวและถูกลดงบประมาณ แต่ผลสำรวจล่าสุดก็ยังพบว่าการเข้าห้องสมุดยังคงเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนอเมริกัน และเป็นที่นิยมมากเสียยิ่งกว่าการไปโรงหนังเสียอีก • เมื่อห้องสมุดออสเตรเลียเผชิญกับกับมหันตภัยทางธรรมชาติ ติดตามบทบาทของห้องสมุดประชาชน ที่มีต่อชุมชนและผู้คนในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุด เมื่อออสเตรเลียพบกับภัยพิบัติธรรมชาติครั้งรุนแรง • “เอี่ยม book” ห้องสมุดจากสตาร์ทอัพจัดการขยะ หนังสือที

  • Coming To Talk EP.38 เชียงราย เมืองแห่งการเรียนรู้

    23/01/2020 Duração: 36min

    มิถุนายน 2562 ยูเนสโกประกาศให้เทศบาลนครเชียงราย เป็นสมาชิกเครือข่าย UNESCO GNLC (UNESCO Global Network of Learning Cities) เนื่องจากเทศบาลนครเชียงรายได้ดำเนินการตามกลยุทธ์ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นเมืองที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ อาทิ มีประชากรอย่างน้อย 10,000 คนขึ้นไป มีบทบาทหน้าที่ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความพร้อมในการขับเคลื่อนหน่วยงานในลักษณะเทศบาลแห่งการเรียนรู้ (Learning Municipality) สร้างความสมานฉันท์ในสังคม มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด การเป็นสมาชิกเครือข่าย UNESCO GNLC ทำให้เทศบาลนครเชียงรายจะได้รับการสนับสนุนในการดำเนินงานเพื่อสร้าง “เมืองแห่งการเรียนรู้” และเสริมสร้างการเป็นหุ้นส่วนและเครือข่ายความร่วมมือกับนานาชาติซึ่งขณะนี้มีสมาชิก 224 เมือง ใน 52 ประเทศ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนทุกเพศวัย รองนายกเทศมนตรีนครเชียงราย ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล เปิดเผยถึงที่มาของการได้รับเลือกเป็นสมาชิก GNLC แผนดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมและต่อยอดจากการได้รับโอกาสครั้งสำคัญนับจากนี้ ร

  • readWORLD EP.48 เมืองแห่งการเรียนรู้ เมืองศิลปะ กลยุทธ์บริหารทิศทางการพัฒนาเมือง

    16/01/2020 Duração: 01h10min

    UNESCO Global Network of Learning Cities เป็นโครงการขององค์การยูเนสโกที่มุ่งหวังให้เมืองต่างๆ ในโลกเติบโตอย่างมีทิศทางและพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงจัดตั้งเครือข่ายระดับโลกขึ้นมาเพื่อช่วยรัฐบาลท้องถิ่น (เมือง) ในการพัฒนากลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ การวางกฎเกณฑ์ที่รัดกุมเข้มงวดแต่เปิดกว้างและให้โอกาสเต็มที่กับรัฐบาลท้องถิ่นทุกประเทศ คือเสน่ห์สำคัญของโครงการนี้ เพราะเมืองที่เข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้จะมั่นใจได้ว่าภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หากทำได้ครบถ้วนจะนำไปสู่มาตรฐานของการพัฒนา ในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างให้กับการแสดงเจตจำนงและความมุ่งมั่นที่จะลงมือทำงาน “ยากๆ” ให้สำเร็จ ซึ่งมีโอกาสที่สองให้กับผู้ตั้งใจอย่างแท้จริงเสมอ ในกรณีของไทย กลยุทธ์กำกับทิศทางการพัฒนาเมืองอีกรูปแบบหนึ่งคือการเชิดชูจุดเด่นของเมือง ตัวอย่างเช่นการที่กระทรวงวัฒนธรรมคัดเลือกและประกาศให้จังหวัดนำร่อง 3 แห่งเป็น ‘เมืองศิลปะ’ ได้แก่ กระบี่ โคราช และเชียงราย ตามมาด้วยกระบวนการสนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องทั้งเล็กและใหญ่ โดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือของผู้คนและองค์กรในจังหวัดนั้นๆ นับเป็นกระบวนการกระตุ

  • TKFORUM EP.21 เด็กอ่านโลก : จากทักษะการอ่านสู่ทักษะแห่งศตวรรษใหม่

    09/01/2020 Duração: 01h11min

    เด็กอ่านโลก: จากทักษะการอ่านสู่ทักษะแห่งศตวรรษใหม่ โดย ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และนายสรรชัย หนองตรุด หัวหน้าฝ่ายสื่อและสารคดี สถาบันรามจิตติ บันทึกในโอกาสการประชุมวิชาการประจำปี 2556 (Thailand Conference on Reading 2013) ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ วิทยากรได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากการลงพื้นที่ทำงานกับเด็กเยาวชนหลายพื้นที่ในการทำ “โครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้นอกฐานโรงเรียนผ่านกระบวนการผลิตสื่อสารคดี” จุดเริ่มต้นที่จะทำให้เด็กเรียนรู้คือ การชวนให้สงสัยใช้จินตนาการ และฝึกการตั้งคำถาม จะทำให้พบความรู้นอกเหนือตำราอีกมากมาย

  • TKFORUM EP.20 ห้องเรียนอนาคตแห่งศตวรรษที่ 21

    02/01/2020 Duração: 01h01min

    ห้องเรียนอนาคตแห่งศตวรรษที่ 21 โดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บันทึกในโอกาสการประชุมวิชาการประจำปี 2555 (TK Conference on Reading 2012) ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ การประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการส่งเสริมการอ่านของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งเน้นในการขยายองค์ความรู้และความรับรู้ที่มีต่อประเทศในกลุ่มอาเซียน ตลอดจนการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศทางด้านนโยบายการอ่านและการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ อันจะนำไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกันที่แนบแน่นลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นในฐานะพลเมืองอาเซียน ภายใต้ปรัชญา “Towards ASEAN Citizenship with Books and Reading”

  • Read Around EP.14 ผลสอบ PISA 2018 คะแนนการอ่านเด็กไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง

    26/12/2019 Duração: 28min

    สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนธันวาคม 62 พบกับเรื่อง… • ผลสอบ PISA 2018 คะแนนการอ่านเด็กไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง มีนักเรียนประมาณ 40% เท่านั้นที่มีความสามารถด้านการอ่านตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป (จาก 6 ระดับ) ซึ่งถือเป็นขั้นพื้นฐานที่นัสามารถใช้ทักษะและความรู้ในชีวิตจริงได้ • อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี หลังคาสีเขียวใหญ่ที่สุดของเอเชีย แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เน้นเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการสร้างพื้นที่สาธารณะ ที่นักศึกษาและชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน • ห้องสมุดในจีนเผาหนังสือที่อาจมีเนื้อหา “ไม่เหมาะสม” เพื่อกำจัดความคิดเห็นที่แตกต่าง สวนทางกับสังคมจีนซึ่งคนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาสูงขึ้นและตระหนักถึงเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็นมากขึ้น • หนังสือบำบัด เมื่อเจ็บป่วยจงอ่านหนังสือ ที่ประเทศอังกฤษ นักจิตวิทยาสามารถเขียน “ใบสั่งหนังสือ” แก่คนไข้ เพื่อให้ไปรับบริการหนังสือที่ห้องสมุดประชาชนใกล้บ้าน • มองห้องสมุดไปไกลอีก 10 ปี “Public Libraries 2030” ความร่วมมือระหว่างประเทศสาชิกสหภาพยุโรป เพื่อสนับสนุนให้บรรณารักษ์กลาย

  • ComingToTalk EP.37สาวน้อยมหัศจรรย์ผู้สร้างสรรค์ insKru แพลตฟอร์มการศึกษาที่มุ่งเปลี่ยนความเชื่อของคน

    18/12/2019 Duração: 57min

    นี่คือหนึ่งในสตาร์ทอัพการศึกษาที่ถูกจับตามองมากที่สุด นับจากได้ทุนสนับสนุนจากโครงการ “ดีแทคพลิกไทย” มาจนถึงการได้รับเลือกเป็น EdTech Startup รุ่นแรกของ StormBreaker Venture ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านการศึกษาโดยบริษัทลงทุนหรือเวนเจอร์แคปิตอลหลายแห่ง เรากำลังพูดถึง insKru แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อแบ่งปันไอเดียและเทคนิคการสอน จากแนวคิดของสาวน้อย “นะโม” ชลิพา ดุลยากร ที่อยากเห็นชุมชนออนไลน์ของครูซึ่งก้าวข้ามการเล่าบ่นถึงความทุกข์ในการสอนหรือชีวิตท่ามกลางเอกสารแบบประเมิน แต่มีเรื่องราวกระตุ้นจินตนาการและตัวอย่างการสอนแบบสนุกๆ ที่ครูนำไปใช้ได้จริง ด้วยความเชื่อว่า ครู คือหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ดังนั้นจึงต้องหาเครื่องมือและวิธีการเพิ่มศักยภาพการสอน ช่วยให้ครูกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากตัวครูหรือวิธีจัดการเรียนการสอน เพื่อทำให้ห้องเรียนสนุก ผู้เรียนและผู้สอนมีความสุขกับการเรียนการสอน การศึกษาก็จะดีขึ้นได้ นะโมย้ำว่า เธอไม่เคยคิดว่ากำลังทำแพลตฟอร์ม แต่กำลังเปลี่ยนความเชื่อของคน นี่คือโจทย์ใหญ่ที่ไม่ธรรมดา เป็นสิ่งท้าทายที่มองเห็นอุปสรรคความยากลำบากรออยู่ข้างหน้า แต่ถ้าใครได้เห็นแววตาที่

  • Coming To Talk EP.36 รำลึก ‘ชัยพฤกษ์การ์ตูน’ กับ “พี่ดาว” บุษบง โควินท์

    12/12/2019 Duração: 01h29min

    ยุคสมัยที่ตลาดนิตยสารเฟื่องฟู การ์ตูนไทยในรูปแบบนิตยสารมีให้เลือกหลากหลาย ‘ชัยพฤกษ์การ์ตูน’ นับเป็นหนึ่งในตำนานครองใจเด็กๆ ที่เติบโตมาในยุค 70 และยืนหยัดอยู่บนแผงหนังสือนานกว่าสองทศวรรษครึ่ง บุษบง โควินท์ นักเขียนนักแปลนิทานและวรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ทีมงานรุ่นแรกๆ ของชัยพฤกษ์การ์ตูน บอกเล่าที่มาของนิตยสารการ์ตูนเล่มนี้ และบทบาทหน้าที่ของเธอในกองบรรณาธิการ รวมถึงการเป็นผู้ดูแลคอลัมน์ ‘คุยกับพี่ดาว’ ซึ่งเป็นนามปากการ่วมที่เธอเข้ามารับช่วงเป็นคนที่สี่ ใช้ตอบจดหมายไขข้อสงสัยสารพัดเรื่องให้กับเด็กๆ ในยุคที่ไม่มีกูเกิล บุคคลสำคัญที่เป็นตัวหลักของชัยพฤกษ์การ์ตูน คือ ณรงค์ ประภาสะโนบล นักวาดการ์ตูน บรรณาธิการและผู้ร่วมก่อตั้ง เสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี 2561 ทิ้งตัวการ์ตูนอย่าง ทาร์ซานกับเจ้าจุ่น ท่านขุน หนูแหวน เจ้าแพะ ลุงกำนัน เอาไว้ในความทรงจำของเด็กรุ่นนั้น นอกจาก “ตุ๊กตา” “เบบี้” “หนูจ๋า” แล้ว กล่าวได้ว่า "ชัยพฤกษ์การ์ตูน" คือหนังสือการ์ตูนในดวงใจของหลายต่อหลายคน เป็นหนึ่งในนิตยสารที่เป็นเบ้าหลอมสำคัญในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การมองโลกอย่างละเมียดละไม การตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว และการพยายามเรียนรู้ค้นหาคำตอบ

  • Coming To Talk EP.35 เมื่อตัวตนและองค์ความรู้ “ชาวบ้าน” ปรากฏอยู่ในงานวิจัย

    04/12/2019 Duração: 58min

    ชาวบ้านก็ทำวิจัยได้! โดยทั่วไป งานวิจัยมักเป็นเรื่องของนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ มีกรอบความคิดทฤษฎี เครื่องมือการสำรวจวิจัย การประมวลผล รูปแบบวิธีการเขียนและเรียบเรียง การให้เหตุผลที่เป็นระบบระเบียบ มีการอ้างอิงตำรับตำราความรู้หรือข้อมูลจากงานวิจัยอื่นเทียบเคียง สุดท้ายคือการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ แม้ว่าโครงสร้างหลักๆ ของวิธีวิทยาในการวิจัยจะมิได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ทว่าผลกระทบจากปัญหาต่างๆ ทางสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้น องค์ความรู้ในการอธิบายพฤติกรรมทางสังคมก็เริ่มมีความหลากหลายและเกิดการบูรณาการข้ามสาขา เพื่อที่จะเข้าถึงและเข้าใกล้ความจริงให้มากที่สุด ทำให้กระบวนการวิจัยที่มี ‘นักวิจัย’ เป็นองค์ประธาน เริ่มเปลี่ยนแปลงไป “งานวิจัยไทบ้าน” คือรูปธรรมของการเปลี่ยนแปลงวิธีวิทยาในงานสำรวจวิจัย เมื่อ ‘ชาวบ้าน’ ปรากฏตัวเป็นทั้งผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ความรู้ ผู้สร้างความรู้ กระทั่งเป็นผู้เรียนรู้ร่วมกันกับนักวิจัย ผลงานวิจัยที่สำเร็จออกมาจึงสะท้อนให้เห็นลงลึกถึงรากเหง้าปัญหา ไม่ใช่เพียงข้อมูลและงานเขียนที่แห้งแล้งซึ่งสกัดเอาทุกข์สุขของคนออกไปเพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่องทางวิชาการ แต่เป็นงานวิชาการที่ประกอบร่างจากวิถีชีวิตผู้ค

página 8 de 14