Tk Podcast

  • Autor: Vários
  • Narrador: Vários
  • Editora: Podcast
  • Duração: 184:43:26
  • Mais informações

Informações:

Sinopse

Episódios

  • readWORLD EP. 45 นิสัยการอ่านของพลเมืองโลก ตอนที่ 2

    11/07/2019 Duração: 45min

    หนังสือดี 5 เรื่องที่ครบรอบในปี 2561 ซึ่งสมควรหยิบมาอ่านอีกครั้ง! ส่วนใหญ่แปลเป็นภาษาไทยให้อ่านกันแล้ว.. เช่น แฟรงเกนสไตน์ (ครบรอบ 200 ปี) สี่ดรุณี (ครบรอบ 150 ปี) พ่อมดแห่งเอิร์ธซี (ครบรอบ 50 ปี) อะไรคือมายาคติหรือความเชื่อเกี่ยวกับการอ่านและความจริงนั้นเป็นเช่นไร ปิดท้ายด้วยข้อเท็จจริงขำๆ เกี่ยวกับหนังสือและการอ่าน

  • readWORLD EP.44 นิสัยการอ่านของพลเมืองโลก ตอนที่ 1

    04/07/2019 Duração: 44min

    ข้อมูลและเกร็ดความรู้ที่เห็นแล้วจะต้องอึ้ง! สารพันสถิติการอ่านจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก และหนังสือยอดนิยม (ขายดี) ของปี 2561 มีเรื่องอะไรบ้าง? คำเตือน : โปรดระมัดระวังในการอ้างอิงและเผยแพร่ต่อ นักอ่านที่ดีควรใช้วิจารณญาณไตร่ตรองข้อมูล

  • Read Around EP.8 ทำความรู้จัก 5 เทรนด์ เด็กเจนเนอร์เรชั่น “อัลฟ่า”

    28/06/2019 Duração: 29min

    สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนมิถุนายน 62 พบกับเรื่อง… • วันหนึ่งเราอาจมีห้องสมุดที่เปิด 24 ชั่วโมงเหมือนร้านสะดวกซื้อ • นโยบาย 1 นักเรียน 1 คอมพิวเตอร์ แดนปลาดิบ • ทำความรู้จัก 5 เทรนด์ เด็กเจนเนอเรชั่น “อัลฟ่า” • การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความพิการทางสายตา

  • readWORLD EP.43 เมคานู กับ 6 ห้องสมุดที่ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ และข้อคิดเรื่องการออกแบบ

    20/06/2019 Duração: 53min

    ฟริโซ ฟาน แดร์ สทีน (Friso van der Steen) ผู้อำนวยการด้านเทคนิคและผู้อำนวยการโครงการระหว่างประเทศ บริษัท เมคานู (Mecanoo) ประเทศเนเธอร์แลนด์ บรรยายถึงแนวคิดการออกแบบห้องสมุด 6 แห่งทั่วโลกที่เป็นผลงานของบริษัท ซึ่งเมื่อได้ฟังและทบทวนดูแล้วทำให้ได้ข้อคิดว่า การออกแบบนั้นก็คือการคิดแก้ไขปัญหา (Problem-solving Thinking) อันเป็นทักษะการคิดที่ควรมีอยู่ในตัวทุกคน คนที่แก้ไขปัญหาได้ดีก็คือคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นหากห้องสมุดมีบทบาทในการสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้คนด้วยการส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ย่อมนำมาสู่ปฏิบัติการพลเมืองหรือ Civic Action ซึ่งผู้คนเกิดความรู้สึกกระตือรือร้นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการร่วมคิดร่วมแก้ปัญหาของชุมชนเพื่อพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ นี่คือความเชื่อมโยงระหว่างการออกแบบกับการมีส่วนร่วม เป็นความเชื่อมโยงระหว่างบทบาทของห้องสมุดกับชุมชนน่าอยู่และเมืองน่าอยู่

  • readWORLD EP.42 นวัตกรรม 9 ประการ สู่ความสำเร็จของห้องสมุดประชาชนเกาสง

    13/06/2019 Duração: 01h11min

    ห้องสมุดประชาชนเกาสงไม่ได้เป็นเพียงอาคารหรือโครงสร้างสวยๆ เท่านั้น เจิ้ง อี้ พาน (Cheng-Yi Pan) ผู้อำนวยการห้องสมุด เปิดเผยเบื้องหลังความสำเร็จของห้องสมุดแห่งนี้ว่า มาจากการพยายามสร้างความแตกต่างและนวัตกรรมอย่างน้อย 9 ประการ ซึ่งหากวิเคราะห์และถอดความรู้ออกมาจะได้คำไขสำคัญ (Keywords) 4 ข้อ คือ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ สร้างนวัตกรรม เน้นให้คนมีส่วนร่วม เชื่อมโยงการพัฒนาเมือง นี่เป็นประสบการณ์จากสากลที่ห้องสมุดไทยควรใคร่ครวญและเลียนแบบหรือนำมาทดลองปรับใช้เป็นอย่างยิ่ง!

  • readWORLD EP.41 สัตว์ตัวไหนเป็นใครใน Animal Farm

    06/06/2019 Duração: 01h18min

    วรรณกรรมเรื่อง Animal Farm เป็นวรรณกรรมแนวเสียดสีการเมือง ตีความถึงการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซีย ปี ค.ศ.1917 หากเข้าใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ส่วนนี้มาบ้างก็จะยิ่งอ่านหนังสือเรื่องนี้ได้อย่างมีอรรถรส แต่เพราะการเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ การตีความ Animal Farm ให้จบเพียงแค่อุปมาตัวละครกับบุคคลและเหตุการณ์จริงในอดีตที่ผ่านไปแล้ว ย่อมไม่ทำให้วรรณกรรมเรื่องนี้คงทนต่อกาลเวลา แต่งานเขียนของ จอร์จ ออร์เวล ชิ้นนี้กลับอยู่ยงคงกระพัน และถูกนำมาอภิปรายพูดถึงในหลายรูปแบบแม้จะผ่านมานานกว่า 70 ปี นั่นอาจเป็นเพราะตัวละครและเรื่องราวของ Animal Farm นั้น ยังคงมีชีวิตโลดแล่นและเป็นเรื่องจริงอยู่ในสังคม ความเป็นมนุษย์ที่ยังเต็มไปด้วยกิเลส ผลประโยชน์ ผ่านการแสวงหาอำนาจและการใช้อำนาจโดยขาดความถูกต้องชอบธรรม จนเกิดภาวะที่อำนาจนั้นฉ้อฉล แม้ผู้ใช้อำนาจเองก็อาจไม่รู้ตัวหรือจงใจแกล้งที่จะไม่รู้ก็ตาม การอ่านหนังสือเรื่องนี้ให้สนุก จึงควรอ่านไปพร้อมกับการตรวจสอบทัศนะจุดยืนทางสังคมและการเมืองของตนเอง การใช้ชีวิตที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ควบคู่ไปกับการวิพากษ์สังคมการเมืองที่เป็นอยู่

  • readWORLD EP.40 อนาคตของเราขึ้นอยู่กับห้องสมุด การอ่าน และจินตนาการ

    23/05/2019 Duração: 36min

    เมื่อปี 2013 นีล ไกแมน นักเขียนชาวอังกฤษที่มีผลงานแนว Dark Fantasy อันโด่งดังจากการ์ตูนชุด The Sandman ได้รับเชิญไปกล่าวในงานปาฐกถาประจำปีของ The Reading Agency องค์กรที่มีภารกิจสนับสนุนโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือ การส่งเสริมการอ่านและพัฒนาห้องสมุด เนื้อหาของการบรรยายมุ่งแสดงความคิดเห็นต่อต้านการปิดห้องสมุดหลายแห่งในอังกฤษที่เกิดขึ้นอย่างครึกโครมในเวลานั้น บทปาฐกถาของเขาถูกนำมาเรียบเรียงเป็นบทความชื่อ “Why our future depends on libraries, reading and daydreaming” เผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนออนไลน์ โดย นีล ไกแมน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก การปล่อยให้เด็กอ่านอย่างอิสระ โดยเฉพาะการส่งเสริมจินตนาการแก่เด็กด้วยการอ่านนิทานหรือนิยาย เขาบอกว่าผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องชี้แนะเนื้อหาให้เด็ก ขอเพียงสอนให้เด็กอ่านและให้การอ่านเป็นเรื่องสนุก ซึ่งจะเป็นบันไดขั้นต้นให้เด็กๆ ไต่สูงขึ้นไปทีละขั้นด้วยตนเอง และกระตุ้นให้เล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีค่า เป็นประตูแห่งอนาคตที่ซึ่งทุกผู้คนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะไม่ปล่อยให้ห้องสมุด

  • Coming To Talk EP.23 สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า ‘เรียนรู้’ ในโลกใบจ้อยของ ‘นรา’

    16/05/2019 Duração: 01h08min

    จ้อย - พรชัย วิริยะประภานนท์ เจ้าของนามปากกา ‘นรา’ นักเขียนนักวิจารณ์ภาพยนตร์ นักจัดรายการวิทยุ และผู้ร่วมก่อตั้งโรงหนังเฮาส์อาร์ซีเอ น่าจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้บริการห้องสมุดที่บรรณารักษ์ชื่นชมหรือรักเขามากที่สุด ด้วยสถิติการอ่านการยืมคืนในแบบฉบับของ ‘ผู้กระหายความรู้’ กว่าสิบปีมาแล้วที่เขาหันเหความสนใจมาสนุกกับเรื่องของจิตรกรรมฝาผนังวัดและศิลปะโบราณสถาน ซึ่งยิ่งสนใจมากก็ยิ่งเสาะหาข้อมูลความรู้ ขุดคุ้ยหาหนังสืออ่าน เดินทางไปดูของจริง เมื่อได้รู้มากขึ้นก็ยิ่งพบข้อมูลที่บานปลายกลายเป็นความรู้ที่แตกแขนงไม่สิ้นสุด ซึ่งเจ้าตัวบอกว่ารู้สึกเหมือนกับ “กำลังว่ายอยู่ในมหาสมุทรที่ว่ายเท่าไหร่ก็ไม่ถึงฝั่ง” เขาบอกว่าอยากจะเขียนหนังสืออีก 1-2 เล่ม เพื่อรวบรวมเรื่องเหล่านี้ให้อ่านง่าย มีแง่มุมที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ผู้อ่าน และเป็นสะพานเชื่อมความรู้เชิงวิชาการไปยังคนหมู่มาก ความผันแปรของวงการหนังสือส่งผลกระทบต่อเขาโดยตรงในฐานะนักเขียน ทุกวันนี้ ‘นรา’ จึงใช้ชีวิตอย่างสมถะ มีสติรู้ตัว เลือกวิธีการทำงานที่แบกภาระน้อย ไม่ฟุ้งทะยานอยาก และจดจ่ออยู่กับการแสวงหาความรู้ที่ลงลึกในเรื่องที่ตัวเขาหลงใหลสนใจ ซึ่งจะว่าไปแล้ว... นี่อา

  • readWORLD EP.39 Ex Libris หนังห้องสมุดที่ดูจนสุด หยุดที่ผู้คน (ไม่ใช่หนังสือ!)

    09/05/2019 Duração: 46min

    ใครที่ได้ดูหนัง Ex Libris: The New York Public Library รอบพิเศษในงาน TK Forum 2019 หรือรอบปกติที่หอศิลป์ กทม. คงจะรู้สึกไม่ต่างกันนักว่า.. หนังยาวเกินไปและไม่สนุก! เฟรเดอริก ไวส์แมน เหมารับหน้าที่ทั้งผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้าง ตัดต่อและควบคุมเสียง ทำหนังยาวสามชั่วโมงเศษๆ ออกมาตามสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเขา ไม่ตัดสิน ไม่ให้ข้อสรุป ไม่ทำตัวเป็นผู้เสนอสัจธรรม แค่ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเป็นภาพตามที่มันเป็นจริง แล้วปล่อยให้ผู้ดูไปคิดกันเอาเอง ดังนั้น กิจกรรมที่ต้องมีเมื่อหนังจบคือการพูดคุยเสวนากัน ซึ่งนั่นทำให้เราได้พบว่าหนังที่ยืดยาวและเรื่องราวที่ไม่น่าสนุก กลับซุกซ่อนแง่คิดมุมมองที่น่าสนใจมากมาย ทำไมจึงไม่มีการขึ้นชื่อเสียงเรียงนามของผู้พูดหรือคนที่ปรากฏตัวในหนัง ทั้งที่หลายคนเป็นนักคิดนักเขียนชื่อดัง? ทำไมจึงเห็นหนังสือหรือนักอ่านอยู่ในหนังน้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุด? สถานที่อย่างห้องสมุดควรเป็นเรื่องของหนังสือหรือผู้คน? ในหนัง เราจะเห็นแต่ภาพของผู้คนที่วุ่นวายอยู่กับการให้และใช้บริการสารพัด ไม่ว่าจะเป็นการจัดเสวนา อภิปราย เล็กเชอร์ ตอบคำถาม การประชุมผู้บริหาร จัดงานเลี้ยงหาทุน คอนเสิร์ต เ

  • readWORLD EP.38 โบกมือลาทศวรรษแห่งการอ่าน

    02/05/2019 Duração: 01h15min

    ปรากฏการณ์และความเปลี่ยนแปลงของแวดวงการอ่านในรอบ 10 ปี คือผลกระทบของ Technology Disruption โดยแท้ การล้มหายตายจากของนิตยสารไทยหลายสิบหัว ไม่ว่าจะอยู่ยงคงกระพันบนแผงมานานเพียงใด ต่างก็เดินทางมาถึงห้วงเวลาของการจากลา พร้อมกับการผุดขึ้นของเว็บไซต์ข่าวสารและสื่อออนไลน์ที่เข้ามาแทนที่ ในขณะเดียวกันหนังสือกระดาษก็ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง แต่ก็ไม่รุนแรงอย่างที่ใครต่อใครคาดการณ์มาก่อนหน้า ตลาดอีบุ๊คเติบโตอย่างเงียบๆ ส่วนร้านหนังสือที่ปรับตัวไม่ทันจำต้องพบจุดจบเช่นเดียวกับนิตยสาร สิบปีที่ผ่านมา พื้นที่การอ่านรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมาอย่างโดดเด่น มีสีสันและหลากหลาย บีบให้ห้องสมุดต้องปรับตัวไปในแนวทางเดียวกันกับพื้นที่การเรียนรู้นอกห้องสมุด คนไทยเริ่มคุ้นชินกับห้องสมุดที่มีบรรยากาศผ่อนคลาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น แม้จะไม่ถึงขั้นแปลงโฉมใหม่หรือเกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ แต่ในอนาคตข้างหน้าเราคงได้เห็นห้องสมุดที่ตอบสนองพฤติกรรมผู้คนมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือผลสะท้อนที่ลึกลงไปถึงระดับปรัชญาความคิดความเชื่อที่มีต่อความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของผู้คนในสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนไป ทิ้งท้ายทศวรรษแห่งก

  • Read Around EP.6 7 สิ่งที่บรรณารักษ์มืออาชีพควรทบทวนในปี 2019

    25/04/2019 Duração: 35min

    สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนเมษายน 62 พบกับเรื่อง… • 7 สิ่งที่บรรณารักษ์มืออาชีพควรทบทวนในปี 2019 • มองพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษ อเมริกา และมาเลเซีย กับบทบาทในการสร้างชาติ • ปลุก “ศรีจันทร์” ย่านสร้างสรรค์ของขอนแก่น • นับถอยหลังเปิดตัวพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พิพิธภัณฑ์ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก

  • Coming To Talk EP.22 ก้าวข้ามทศวรรษแห่งการอ่าน

    10/04/2019 Duração: 01h21min

    รวมมิตรเสวนา 3 เรื่องเด่น ในงานแถลงข่าวผลสำรวจการอ่านของประชากร 2561: - รู้จักสถาบันหนังสือแห่งชาติอินเดีย แล้วย้อนมองไทย โดย ธนิษฐา แดนศิลป์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อและบรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ภารตะ - อ่านอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อ ‘ข่าวปลอม’ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ผลิตและพิธีกรรายการชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท - อีบุ๊คไทย ตายหรือโต? โดย รวิวร มะหะสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

  • readWORLD EP.37 สิ้นสุดวาทกรรมคนไทยอ่านน้อย โจทย์ที่ยากกว่าคือสร้างนิสัยรักการอ่าน

    03/04/2019 Duração: 01h15min

    น่าดีใจที่ผลสำรวจการอ่านปีล่าสุดชี้ว่าคนไทยอ่านเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดยังมีคำถามชวนให้คิดอีกมากมาย ทั้งปัญหาเด็กอ่านไม่ออก อ่านไม่คล่อง ความเหลื่อมล้ำ การปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ความเข้าใจผิดของพ่อแม่ ไปจนถึงการปรับตัวของห้องสมุด ข้อมูลหลากหลายจากผลสำรวจการอ่านช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมการอ่านของคนแต่ละวัยแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงประเด็นการอ่านเชิงคุณภาพซึ่งน่าวิเคราะห์วิจัยอีกหลายเรื่อง และยังช่วยให้การทำงานส่งเสริมการอ่านดำเนินไปบนฐานของข้อมูลและความรู้ มิใช่ทำไปตามวาทกรรมความเชื่อที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์รองรับ

  • Read Around EP.5 ผลการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดในปี 2019 กับเหตุผลที่ประเทศเหล่านั้นคู่ควร

    28/03/2019 Duração: 24min

    Read Around EP.5 ผลการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดในปี 2019 กับเหตุผลที่ประเทศเหล่านั้นคู่ควร สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนมีนาคม 62 พบกับเรื่อง… – ผลการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดในปี 2019 - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ 100% - เจ้าชายน้อยฉบับล้านนา - BookBot หุ่นยนต์ให้บริการคืนหนังสือโดยไม่ต้องก้าวเท้าออกจากบ้าน

  • TKFORUM EP.17 How Creativity Can Change the World

    10/03/2019 Duração: 23min

    ปัจจุบันมีหน่วยงานธุรกิจที่สนใจงานด้านช่วยเหลือและสร้างสรรค์สังคมไปพร้อมกับการหารายได้เลี้ยงตัวเอง หรือที่เรียกกันว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” หรือ “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” องค์กรนวัตกรรมสังคม Creative MOVE ที่ริเริ่มโดยนายธนบูรณ์ก็เช่นเดียวกัน Creative MOVE มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ซึ่งมีคนจำนวนมากกำลังต้องการความช่วยเหลือ อีกด้านหนึ่งก็มีคนจำนวนมากที่ต้องการจะช่วยเหลือผู้อื่น กลุ่มอาสาสมัครจึงเข้ามาเป็นสื่อกลางในการหาข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ และใช้สื่อยุคดิจิทัลอย่างโซเชียลเน็ตเวิร์คสื่อสารออกไปสู่สาธารณะ จากนั้นงานและกลุ่มคนก็ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ และได้เป็นพลังคนรุ่นใหม่ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางที่ดีงาม Creative MOVE มีการดำเนินงานที่หลากหลาย เช่น งานดีไซน์กราฟฟิคเพื่อนำเสนอข้อมูล/ความรู้ งานออกแบบโครงการ CSR ให้กับหน่วยงานธุรกิจ โดยมีต้นทุนที่สำคัญคือความสามารถในการเชื่อมโยงแหล่งทุน กลุ่มเป้าหมาย และอาสาสมัครที่มีความศักยภาพ เข้าไว้ด้วยกัน ปัจจุบันผู้ประกอบการเพื่อสังคมในประเทศไทยยังมีไม่มากนัก แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเ

  • Read Around EP.4 อ่านวรรณกรรมคลาสสิกผ่าน Insta Novels คนอ่านอยู่ที่ไหนห้องสมุดจะตามไปที่นั่น

    28/02/2019 Duração: 22min

    Read Around EP.4 สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนกุมภาพันธ์ 62 พบกับเรื่อง… - ตามดูผลของมาตรการซื้อหนังสือเพื่อลดหย่อนภาษี หรือช้อปช่วยชาติ - Insta Novels แพลตฟอร์มที่ให้อ่านวรรณกรรมคลาสสิคผ่านทางทางอินสตาแกรม - ร้านหนังสือ ‘Open House’ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเอ็มบาสซี ได้รับรางวัลร้านหนังสือที่สวยที่สุดระดับเอเชีย - เปิดตัววารสารวิชาการของคนรุ่นใหม่ 'Intelligenzia' ซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก 'สังคมศาสตร์ปริทัศน์

  • Coming To Talk EP.21 กว่าจะมาเป็น CoderDojo ประเทศไทย

    21/02/2019 Duração: 02h45s

    เพราะมุมมองการศึกษาแบบ ‘ขบถ’ ในชีวิตการเรียนตั้งแต่วัยเด็ก จึงทำให้ มิชารี มุคบิล กล้าเลือกเส้นทางการศึกษาแบบ ‘บ้านเรียน’ หรือโฮมสคูล ให้กับลูกๆ และก็คงเพราะคอมพิวเตอร์ซึ่งเห็นจนคุ้นตามาแต่วัยเด็ก ในยุคที่ประเทศนี้ยังไม่มีการใช้งานแพร่หลาย ที่เขาหลงใหลสนใจ เพราะสามารถสื่อสารโต้ตอบอย่างคาดเดาได้ ตรงไปตรงมา ไม่เหมือนการสื่อสารพูดคุยกับเพื่อนฝูงที่เป็น ‘คน’ ซึ่งชวนงุนงงและมักลงเอยด้วยการวางมวยฟาดปากกันภายในรั้วโรงเรียน มุมมองที่เข้ากันไม่ค่อยได้กับระบบโรงเรียน ความรักสันโดษ ปัญหาการสื่อสารด้วยคำพูด และความหลงใหลในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลอมรวมชีวิตของหนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย สู่การเป็นเจ้าสำนักโค้ดดิ้งคลับ ‘CoderDojo Thailand’ สาขาแรกในประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องเหมาะเจาะพอดีกับปรัชญาแบบโฮมสคูลที่เขาเชื่อ และการสร้างเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ที่ลูกๆ ของเขา (และเด็กไทย) จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝัง เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ในอนาคต

  • TKFORUM EP.16 ครูนอกกรอบค้นพบอะไรในโรงเรียนนอกกะลา ?

    14/02/2019 Duração: 29min

    โลกอนาคตที่เด็กๆ จะต้องเผชิญเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อน ทั้งขีดจำกัดของทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการล้นทะลัก ของข้อมูลข่าวสาร ในขณะที่การศึกษาในปัจจุบันมีลักษณะเหมือนโรงงานอุตสาหกรรมที่พยามยามทำให้ทุกคนมีความรู้ชุดเดียวกัน ละเลยทักษะที่จำเป็น เน้นการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจตอบโจทย์ในการดำรงชีวิตในโลกอนาคตได้ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ มีเป้าหมายการศึกษาโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่เพียงแต่ให้นักเรียนมีความรู้ ภูมิปัญญา แต่ต้องการปลูกฝังให้เป็นผู้มีจิตวิญญาณด้วย รวมทั้งมีทั้งปัญญาภายในที่เข้าใจตนเองและปัญญาภายนอกที่เข้าใจโลกและมีทักษะชีวิต แนวทางสำคัญที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้นำมาใช้ในการจัดการศึกษาคือ “จิตปัญญา” โดยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในชุมชนโรงเรียน ใช้จิตวิทยาเชิงบวกคือเคารพความเป็นมนุษย์ และใช้กิจกรรมจิตปัญญาเพื่อฝึกฝนให้นักเรียนเกิดความรู้สึกตัวและเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งอื่น

  • TKFORUM EP.15 ทักษะจำเป็นของเด็กไทยยุคดิจิทัล คืออะไร? สร้างได้อย่างไร ?

    07/02/2019 Duração: 28min

    เป้าหมายสำคัญที่สุดของครูหรือนักการศึกษาก็คือ จะทำอย่างไรให้เด็กเติบโตไปแล้วประสบความสำเร็จในชีวิต แต่คนส่วนใหญ่มักมองความสำเร็จอย่างแคบๆ เช่น การให้เด็กได้เรียนโรงเรียนดีๆ ได้คะแนนสอบสูงๆ หรือสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง ทั้งที่จริงๆ แล้วความสำเร็จเกิดขึ้นกับผู้คนมากมายในหลายๆ รูปแบบ แม้บางคนจะไม่ได้เรียบจบปริญญาเสียด้วยซ้ำ กุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัลไม่ใช่เพียง “ความรู้” แต่คือ “ทักษะ” หรือเรียกว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักการศึกษา อันประกอบด้วย ทักษะการสื่อสาร ทักษะความร่วมมือ ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดเป็นเหตุเป็นผล ทักษะชีวิต เป็นต้น และอีกส่วนที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “เจตคติ” เพราะหากการศึกษาไม่สามารถปลูกฝังให้คนมีศีลธรรมก็ไม่มีวันที่จะเป็นคนที่สมบูรณ์ การเรียนการสอนในอนาคตจะต้องเปลี่ยนแปลงจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากสอนให้จำเปลี่ยนเป็นสอนให้คิด จากการให้ความรู้ที่จำกัดเปลี่ยนเป็นสนับสนุนให้ค้นคว้าความรู้ที่กว้างขวางบนโลกอินเทอร์เน็ต จากการสอนโดยยัดเยียดเปลี่ยนเป็นการสอนตามความสนใจของผู้เรียน มาตรฐานก

  • Read Around EP.3 Public Libraries 2020 สะท้อนบทบาทห้องสมุดยุคใหม่ในกลุ่มประเทศอียู

    31/01/2019 Duração: 01h09min

    Read Around EP.3 สรุปข่าวสารเรื่องราวเด่นในแวดวงการอ่านและการเรียนรู้ทั้งของไทยและต่างประเทศ ในรอบเดือนมกราคม 62 พบกับเรื่อง... - ห้องสมุดในกลุ่มอียูก้าวหน้าทิ้งห่างประเทศอื่น กับแคมเปญ Public Libraries 2020 - Tara Books สำนักพิมพ์หนังสือภาพทำมือของประเทศอินเดียที่กวาดรางวัลมาทั่วโลก - ห้องสมุดเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ฉีกกฎเกณฑ์ห้องสมุดรูปแบบเดิม - เก็บตกงาน LIT Fest เทศกาลหนังสือสนุกไฟลุกพรึ่บ

página 10 de 14